รุ่ย ของหวานจากป่าชายเลน

เป็นเมนูของหวาน ใช้ฝักต้นรุ่ยมาทำ ทุกวันนี้หากินยากมาก เพราะขั้นตอนการทำยุ่งกว่าการบวดด้วยพืชผักชนิดอื่น

ยุคปู่ย่าตายาย เรากินผักเกือบ 200 ชนิด แต่รุ่นหลานในวันนี้รู้จักผักที่กินไม่ถึง 20 ชนิด

คนโบราณกินเมื่อหิว ไม่ได้กินเป็นมื้ออย่างที่อุตสาหกรรมอาหารของฝรั่งรณรงค์กันตั้งแต่ช่วง ค.ศ. 1930 อีกทั้งสำรับสมัยก่อนของคนแถบนี้ (ไม่ใช่แค่คนไทย) ก็ล้วนเป็นยาเพราะส่วนใหญ่เป็นผัก เครื่องเทศ สมุนไพร มายุคนี้เราก็กินอาหารเป็นยาเหมือนกัน แต่เป็นยาฆ่าแมลง ผักที่นิยมกินกันก็มีแค่ไม่กี่อย่าง ผักพื้นบ้านมากมายหลายชนิดหายไปจากสำรับ แล้วก็ยังกินเป็นมื้อแม้ไม่หิว แถมยังกินเพราะปากว่างอีกด้วย

การกินสัมพันธ์อย่างแนบแน่นกับการอยู่และการดูแลรักษา คนปากน้ำบางปะกงจึงไม่ยอมให้สำรับที่มีผักพื้นบ้านหายไป เพราะถ้าคนเรายังกิน เราก็จะรักษา กินตามน้ำมื้อนี้ชวนมากิน “แกงบวดรุ่ย”

แกงบวดรุ่ยเป็นเมนูของหวาน ใช้ฝักต้นรุ่ยมาทำ ทุกวันนี้หากินยากมาก เพราะขั้นตอนการทำยุ่งกว่าการบวดด้วยพืชผักชนิดอื่น

บวดรุ่ยใช้ส่วนที่เป็นฝักมาทำ เก็บเฉพาะฝักรุ่ยที่แก่เต็มที่จนหล่นจากต้น เมื่อได้ฝักมาอันดับแรกต้องขูดเปลือกออก แล้วก็เอามาต้มน้ำทิ้งหลายๆ น้ำ เสร็จแล้วก็แช่น้ำด่างขี้เถ้าเพื่อแก้ฝาด คนสมัยก่อนมักจะเอามาเชื่อมน้ำตาลเก็บไว้กินได้หลายวัน กินทีละน้อย แต่เอามาบวดก็เข้าท่า เนื้อฝักรุ่ยให้รสสัมผัสคล้ายบวดมันและบวดฟักทอง

ต้นรุ่ยหรือถั่วขาวเป็นพืชน้ำกร่อย (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bruguiera cylindrica (L.) Bume.) เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูงประมาณ 5-10 เมตร พูพอนน้อยแต่บริเวณโคนต้นขยายออกเพื่อสำหรับช่วยพยุงลำต้น เรือนยอดแน่นทึบเป็นรูปปีรามิด ผลสีเขียวใต้ใบเลี้ยงหรือฝักรูปทรงกระบอกเรียวโค้ง เมื่อฝักแก่จะมีร่องตามความยาว ออกดอกและผลเกือบตลอดทั้งปี

ต้นรุ่ย
ต้นรุ่ย
ต้นรุ่ย
ต้นรุ่ย

เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกฉะเชิงเทรา ทำโครงการ 304 กินได้ (เพจ ๓๐๔ กินได้) เพื่อคุ้มครองพื้นที่อาหาร เพื่อความมั่นคงของชุมชนและสังคมในพื้นที่ชุมชนปากแม่น้ำบางปะกง การฟื้นพืชผักพื้นบ้านอย่างเช่นรุ่ย ก็คือการฟื้นความรู้เรื่องสำรับอาหารโบราณที่เชื่อมโยงกับธรรมชาติ และกำลังจะหายไป

ต้นรุ่ยมีส่วนสำคัญกับระบบนิเวศป่าชายเลน ซึ่งเป็นมดลูกของทะเล เป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อน การนำรุ่ยกลับมาคืนสำรับก็เท่ากับการรักษาธรรมชาติให้อยู่คู่กับชีวิต

ทำกิจกรรมครั้งหน้า เปลี่ยนมาปลูกรุ่ยแทนปลูกโกงกางบ้างก็เข้าท่าดีนะ

อ้างอิง:


บทความโดย : อยู่ดี กินดี

#รุ่ย #ถั่วขาว #แกงบวดรุ่ย #พืชจากป่าชายเลน #อาหารพื้นบ้านบางปะกง #อยู่ดีกินดี #กินตามน้ำ

Share:

ท่าข้าม จุดหมายเชิงนิเวศปากแม่น้ำบางปะกง ชุมชนอาหารพื้นบ้านที่ไม่ควรพลาด ลิ้มรสปลากดหัวอ่อนหมกกะปิ แกงส้มหน่อไม้ดอง
โลมาอิรวดีเป็นสัตว์ทะเลหายากที่อาศัยในแม่น้ำบางปะกง กำลังเผชิญภัยคุกคามจากการทำประมงและการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม เรียนรู้การอนุรักษ์และบทบาทของโลมาในระบบนิเวศปากแม่น้ำ
ปากแม่น้ำบางปะกง แหล่งน้ำกร่อยที่เป็นถิ่นอาศัยของโลมาอิรวดี โลมาหลังโหนก โลมาหัวบาตรหลังเรียบ และวาฬบรูด้า
คนบางปะกงใช้ความรู้จากความเข้าใจธรรมชาติเพื่อจัดการชีวิตทั้งเรื่องการอยู่การหากิน โดยไม่ขืนครรลองธรรมชาติ ภูมิปัญญานี้เรียกว่า “นาขาวัง”
“เคยแห้ง” ก็ทำได้แบบนั้น เคยตากแห้งกลิ่นหอมนุ่ม ไม่หอมแรงเหมือนกุ้งแห้ง เคยแทนที่กุ้งทุกอย่างไม่ได้ก็จริง

ส่งข้อความถึงเรา

Tags
ท่าข้าม จุดหมายเชิงนิเวศปากแม่น้ำบางปะกง ชุมชนอาหารพื้นบ้านที่ไม่ควรพลาด ลิ้มรสปลากดหัวอ่อนหมกกะปิ แกงส้มหน่อไม้ดอง และอีกมากมาย พร้อมสัมผัสธรรมชาติริมแม่น้ำ
“เคยแห้ง” ก็ทำได้แบบนั้น เคยตากแห้งกลิ่นหอมนุ่ม ไม่หอมแรงเหมือนกุ้งแห้ง เคยแทนที่กุ้งทุกอย่างไม่ได้ก็จริง แต่ข้อดีคือเคยราคาย่อมเยา และให้คุณค่าด้านโปรตีน แคลเซียม โอเมก้า ไม่แพ้กุ้ง
คำว่า “สลิด” เพี้ยนจากคำว่า “จริต” ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแนะนำให้ราชบริพารเรียกปลาสลิดว่า “ปลาใบไม้” เพื่อความสุภาพ เพราะทรงเห็นว่ามีรูปร่างเหมือนใบไม้
ลิ้มรสปลาแดดเดียวรสเลิศจากปากแม่น้ำบางปะกง และเรื่องราวของป้าเปรม ผู้เชี่ยวชาญด้านการทำปลาแดดเดียว เคล็ดลับความอร่อยที่ไม่เหมือนใคร
มะระขี้นก เป็นสมุนไพรที่คนโบราณรู้จักใช้มาเป็นพันปีแล้ว มะระขี้นกช่วยลดน้ำตาลในคนที่เป็นเบาหวานประเภทที่สอง (แบบไม่พึ่งอินซูลิน)
เรื่องราวของ “ลุงเบี้ยว” บรรจบ พรหมศิริ เป็นคนตำบลท่าข้าม อำเภอบางปะกง คนประมงพื้นบ้านวัย 58 ปี จะออกเรือหาเคยแต่เช้าเป็นวิถีชีวิตริมแม่น้ำ