รวมเลือดเนื้อชาติเชื้อบางปะกง

พื้นที่บริเวณนี้จึงเป็นที่รวมของผู้คนหลากหลายชาติพันธุ์ ทำให้เกิดพหุวัฒนธรรมผสมผสานลงตัวเป็นวัฒนธรรมของ “คนบางปะกง”
ศาลเจ้า ริมแม่น้ำบางปะกง

ลุ่มน้ำบางปะกงมีความสำคัญในเชิงยุทธศาสตร์เพราะที่เป็นหัวเมืองหน้าศึกฝ่ายตะวันออกของรัฐไทยมานานกว่า 500 ปี ตลอดจนมีทางออกสู่ทะเล พื้นที่บริเวณนี้จึงเป็นที่รวมของผู้คนหลากหลายชาติพันธุ์ ทั้งคนไตดั้งเดิมที่สืบสานมาตั้งแต่สมัยอาณาจักรขอมโบราณ คนที่หนีภัยสงครามเข้ามาในแต่ละยุคสมัย คนจีนที่เข้ามากับสำเภา ทำให้เกิดพหุวัฒนธรรมที่ถ่ายทอดเป็นประเพณีต่างๆ ผสมผสานลงตัวเป็นวัฒนธรรมของ “คนบางปะกง”

แผนที่บริเวณปากแม่น้ำบางปะกง
แผนที่บริเวณปากแม่น้ำบางปะกง

บริเวณปากอ่าวไทยที่สมัยก่อนปฏิรูปการปกครอง เรียกว่า มณฑลปราจีนบุรี ประกอบด้วยเมืองปราจีนบุรี นครนายก ฉะเชิงเทรา และชลบุรี โดยมีเมืองฉะเชิงเทราเป็นศูนย์กลางการบริหารงานของมณฑล พื้นที่แห่งนี้มีความสำคัญในเชิงยุทธศาสตร์มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เพราะเป็นหัวเมืองหน้าศึกฝ่ายตะวันออก เมื่อกรุงศรีอยุธยาเกิดเหตุวุ่นวายครั้งใด เขมรก็จะถือโอกาสรุกราน และกวาดต้อนผู้คนในบริเวณหัวเมืองแถบนี้กลับไป และก็เช่นเดียวกัน ในยามที่อยุธยามีความเข้มแข็งก็เดินทัพไปปราบเขมรโดยใช้เส้นทางนี้

ในบรรดาชื่อเมือง (จังหวัด) ในมณฑลปราจีนบุรีที่แปลกหูที่สุดต้องยกให้ “ฉะเชิงเทรา” ซึ่งเพี้ยนมาจากคำเขมรว่า “ฉทึงเทรา” แปลว่า แม่น้ำลึก หรือคลองลึก (ฉทึง-แม่น้ำหรือคลอง เทรา-ลึก) แต่คนส่วนใหญ่ชอบเรียกว่าเมืองแปดริ้ว นักวิชาการสันนิษฐานว่าการเรียกชื่อเป็นคำเขมรน่าจะเป็นเหตุผลทางภูมิศาสตร์ เพราะเมืองฉะเชิงเทราตั้งอยู่สองฝั่งแม่น้ำบางปะกง เมื่อครั้งที่ขอมยังมีอำนาจปกครองบริเวณนี้ คนโบราณก็เรียกแม่น้ำบางปะกงว่า ฉทึงเทรา ซึ่งหมายถึงคลองลึกหรือคลองใหญ่ ตามลักษณะที่มองเห็น

เรือขนส่งก๊าซหุงต้ม จอดรอบริเวณปากแม่น้ำบางปะกง
เรือขนส่งก๊าซหุงต้ม จอดรอบริเวณปากแม่น้ำบางปะกง

ด้วยความที่เป็นหัวเมืองหน้าศึกฝ่ายตะวันออกของรัฐไทยมานานกว่า 500 ปี ตลอดจนมีทางออกสู่ทะเล พื้นที่ในลุ่มน้ำบางปะกงจึงเป็นที่รวมของผู้คนหลากหลายชาติพันธุ์ ทั้งคนไตดั้งเดิมที่สืบสายสมัยอาณาจักรขอมโบราณ คนที่หนีภัยสงครามเข้ามาในแต่ละยุคสมัย ทำให้เกิดลักษณะพหุวัฒนธรรมที่ถ่ายทอดเป็นประเพณีต่างๆ ผสมผสานกันลงตัวเป็นวัฒนธรรมของ “คนบางปะกง”

วัฒนธรรมในโลกนี้แทบทุกเรื่องมีต้นกำเนิดจากการอยู่การกิน การปลูกข้าวก็ทำให้เกิดวัฒนธรรมแตกแขนงมากมาย พื้นที่ในลุ่มน้ำบางปะกงเป็นที่ราบลุ่มอุดมสมบูรณ์จึงเป็นแหล่งผลิตข้าวมาเนิ่นนาน เฉพาะจังหวัดฉะเชิงเทราเองเป็นแหล่งผลิตข้าวและค้าขายข้าวที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน (ทุกวันนี้ ฉะเชิงเทราเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ปลูกข้าวกว่า 342,780 ไร่ หรือร้อยละ 10.62 ของพื้นที่ทั้งหมด และเป็น 1 ใน 8 จังหวัดที่มีโครงการชลประทานเจ้าพระยาใหญ่-สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรฉะเชิงเทรา, 2565) และการค้าขายข้าวก็กลายเป็นหนึ่งในเศรษฐกิจสำคัญของรัฐไทยแต่โบราณ

กรุงศรีอยุธยาซึ่งตั้งอยู่บริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ ด้านเหนือคือแม่น้ำลพบุรี ด้านตะวันตกและใต้เป็นแม่เจ้าพระยา ด้านตะวันออกเป็นแม่น้ำป่าสัก โลเคชั่นเกรดเอนี้ทำให้อยุธยาสามารถค้าขายกับหัวเมืองในภาคกลางและภาคเหนือได้ รวมทั้งพ่อค้าต่างชาติที่เข้ามาทางอ่าวไทยโดยเลาะเลียบเข้ามาทางแม่น้ำบางปะกง เส้นทางดังกล่าวนำชาวจีนโพ้นทะเลที่เข้ามาแต่ละยุค “รวมเลือดเนื้อ” เป็นส่วนหนึ่งของคน “ชาติเชื้อบางปะกง” ในทุกวันนี้

คนจีนโยกย้ายไปถิ่นฐานไหนก็นำความเชื่อเดิมและแนวทางการใช้ชีวิตตามหลักขงจื้อติดตัวไปด้วย ชุมชนชาวจีนส่วนใหญ่จึงมีอัตลักษณ์ที่สะท้อนความเชื่อดังกล่าว อย่างเช่นชุมชนตลาดบ้านใหม่ในอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นชุมชนคนจีนดั้งเดิมที่ลงหลักปักฐานมานานกว่าร้อยปีแล้ว และความเข้มแข็งของคนจีนที่นี่ทำให้พื้นที่ที่ผ่านการปรับตัวเป็นชุมชนเมืองเต็มตัวแล้ว  ยังสามารถคงอดีตหลายอย่างที่งดงามไว้ได้ ไม่ว่าจะเป็นการซ่อมแซมอาคารบ้านเรือนให้คงสภาพย้อนยุค การคงรสอาหารแบบเก่าๆ อัธยาศัยที่เอื้อเฟื้อ จนกลายเป็น “ตลาดบ้านใหม่ร้อยปี” แหล่งท่องเที่ยวที่ขึ้นชื่อแห่งหนึ่งของฉะเชิงเทรา

ถ้าอยากลิ้มรสอาหารจีนแบบคลีนๆ ก็ต้องมาช่วงเดือน 9 (ตามปฏิทินจีน) เป็นช่วงเวลาที่คนเชื้อสายจีนฉะเชิงเทรา (ซึ่งส่วนใหญ่มาจากทางใต้) จะมีประเพณีถือศีลละเว้นกินเนื้อสัตว์และสิ่งที่มีชีวิต และมีพิธีบูชากิ้วหองไต่เต่ (เทพแห่งดาวนพเคราะห์ 9 องค์) เทศกาลดังกล่าวเป็นแหล่งรวมคนเชื้อสายจีนเก่าแก่ที่ยังเก๋าเรื่องข้าวปลาอาหารแบบจีนตอนใต้

ท้องนา จังหวัดฉะเชิงเทรา
ท้องนา จังหวัดฉะเชิงเทรา

…วัฒนธรรมอีกเรื่องหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการปลูกข้าวที่เห็นชัดเจนคือ ประเพณีข้าวหลาม

ดั้งเดิมเลยประเพณีเกี่ยวกับข้าวหลามนี้เป็นของคนลาวเวียงที่มาจากจากเวียงจันในสมัยรัชกาลที่ 3 ชุมชนใหญ่ของคนลาวเวียงอยู่ในอำเภอพนมสารคาม คนลาวเวียงเรียกประเพณีนี้ว่า “บุญข้าวหลาม” โดยจะมีพิธีในเดือน 3 (ธันวาคมหรือมกราคม) เพราะเป็นฤดูการเก็บเกี่ยวข้าว ชาวบ้านจึงนำข้าวใหม่ที่มีกลิ่นหอมมากมาทำเป็นอาหาร โดยนำมาเผาในไผ่สีสุกเป็นข้าวหลามเพื่อถวายพระภิกษุ

ท้องนา จังหวัดฉะเชิงเทรา
ท้องนา จังหวัดฉะเชิงเทรา

เนิ่นนานต่อมา นอกจากถวายข้าวหลามแล้วก็เอาประเพณีไทยโบราณเข้ามาผสม คือการปิดทองรอยพระพุทธบาทจำลองที่วัดเขาดงยาง (วัดสุวรรณคีรี) ซึ่งอยู่ในอำเภอพนมสารคามเหมือนกัน สมัยก่อนใช้การเดินเท้า ไม่ได้นั่งรถ เวลาเดินไปวัดก็จะผ่านบ้านหัวสำโรง อ.แปลงยาว (สำโรงเป็นคำเขมร หมายถึงต้นสำโรง) ซึ่งเป็นบ้านคนเชื้อสายเขมร คนบ้านสำโรงก็ขอรับบุญข้าวหลามมาเป็นประเพณีของตนด้วยเพราะปลูกข้าวเหนียวเหมือนกัน แต่ต่อยอดเพิ่มเป็น “ขึ้นเขาเผาข้าวหลาม” ตรงตัวกับการเดินขึ้นเขา

กิจกรรมเผาข้าวหลามเป็นอะไรที่สนุกมาก ไม้ไผ่เผาไฟอ่อน ๆ ผสมกับกลิ่นหอมของข้าวใหม่ เสมือนการปลุกอดีตที่งดงามให้ปรากฏตรงหน้าอีกครั้ง

อ้างอิง:

บทความโดย : อยู่ดี กินดี

#คนบางปะกง  #คนฉะเชิงเทรา  #บางปะกงพหุวัฒนธรรม #ตลาดบ้านใหม่ร้อยปี #บุญข้าวหลาม #อยู่ดีกินดี #พายเรือทวนน้ำ #กำเหนิดบางบ็องกอง

Share:

ท่าข้าม จุดหมายเชิงนิเวศปากแม่น้ำบางปะกง ชุมชนอาหารพื้นบ้านที่ไม่ควรพลาด ลิ้มรสปลากดหัวอ่อนหมกกะปิ แกงส้มหน่อไม้ดอง
โลมาอิรวดีเป็นสัตว์ทะเลหายากที่อาศัยในแม่น้ำบางปะกง กำลังเผชิญภัยคุกคามจากการทำประมงและการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม เรียนรู้การอนุรักษ์และบทบาทของโลมาในระบบนิเวศปากแม่น้ำ
ปากแม่น้ำบางปะกง แหล่งน้ำกร่อยที่เป็นถิ่นอาศัยของโลมาอิรวดี โลมาหลังโหนก โลมาหัวบาตรหลังเรียบ และวาฬบรูด้า
คนบางปะกงใช้ความรู้จากความเข้าใจธรรมชาติเพื่อจัดการชีวิตทั้งเรื่องการอยู่การหากิน โดยไม่ขืนครรลองธรรมชาติ ภูมิปัญญานี้เรียกว่า “นาขาวัง”
“เคยแห้ง” ก็ทำได้แบบนั้น เคยตากแห้งกลิ่นหอมนุ่ม ไม่หอมแรงเหมือนกุ้งแห้ง เคยแทนที่กุ้งทุกอย่างไม่ได้ก็จริง

ส่งข้อความถึงเรา

Tags
โรงเจแห่งแรกในฉะเชิงเทรา สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2440 สมัยรัชกาลที่ 5 ตั้งอยู่ใน ตำบลเทพราช อำเภอบ้านโพธิ์ เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
วัดพิมพาวาสจะมีการประกอบพิธี “ตักบาตรน้ำผึ้ง”ทุกวันเพ็ญเดือนสิบ ประเพณีดั้งเดิมของชาวมอญที่ทั่วประเทศเหลือสืบทอดเพียงไม่กี่แห่ง
ผีแถน เทพเจ้าผู้ควบคุมฟ้าฝนของคนอีสาน มีความสำคัญในพิธีกรรมต่างๆ เช่น บุญบั้งไฟ ซึ่งจัดขึ้นเพื่อขอฝนและความอุดมสมบูรณ์ในฤดูทำนา
งานบุญบั้งไฟฉะเชิงเทรา หรือ บั้งไฟท่าตะเกียบ จัดขึ้นที่ อ.ท่าตะเกียบ จ.ฉะเชิงเทรา เป็นงานประเพณีที่สืบทอดจากชาวอีสาน มีขบวนแห่ การแสดง และการจุดบั้งไฟที่น่าตื่นตาตื่นใจ
อ้อยเป็นพืชเศรษฐกิจลำดับสี่ของโลก รองจากข้าวสาลี ข้าวโพด และข้าว พืชตระกูลหญ้าที่ให้ความหวานนี้เข้ามาในประเทศไทยเมื่อ 400 ปีก่อน สันนิษฐานว่าพ่อค้าชาวอินเดียนำเข้ามา แม้ถิ่นกำเนิดของอ้อยจะอยู่ในหมู่เกาะแถบมหาสมุทรแปซิฟิก แต่เส้นทางการค้าเมื่อกว่าพันปีก่อนก็ทำให้อ้อยขยายไปทั่วเอเชีย
ต้นปีจนถึงฤดูร้อน บริเวณปากแม่น้ำบางปะกงเป็นช่วงที่คลื่นลมสงบ นักท่องเที่ยวมักจะมาลงเรือไปดูโลมาอิรวดี ซึ่งบริเวณนี้พบประมาณ 40-50 ตัว ในน่านน้ำแห่งนี้มาตั้งแต่ปี 2545 จนถึงทุกวันนี้