
โรงเจเพ่งอังตั๊ว
โรงเจแห่งแรกในฉะเชิงเทรา สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2440 สมัยรัชกาลที่ 5 ตั้งอยู่ใน ตำบลเทพราช อำเภอบ้านโพธิ์ เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ “ตลาดเก่าคลองสวน 100 ปี”
โรงเจแห่งแรกในฉะเชิงเทรา สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2440 สมัยรัชกาลที่ 5 ตั้งอยู่ใน ตำบลเทพราช อำเภอบ้านโพธิ์ เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ “ตลาดเก่าคลองสวน 100 ปี”
วัดพิมพาวาสจะมีการประกอบพิธี “ตักบาตรน้ำผึ้ง”ทุกวันเพ็ญเดือนสิบ ประเพณีดั้งเดิมของชาวมอญที่ทั่วประเทศเหลือสืบทอดเพียงไม่กี่แห่ง
ผีแถน เทพเจ้าผู้ควบคุมฟ้าฝนของคนอีสาน มีความสำคัญในพิธีกรรมต่างๆ เช่น บุญบั้งไฟ ซึ่งจัดขึ้นเพื่อขอฝนและความอุดมสมบูรณ์ในฤดูทำนา
งานบุญบั้งไฟฉะเชิงเทรา หรือ บั้งไฟท่าตะเกียบ จัดขึ้นที่ อ.ท่าตะเกียบ จ.ฉะเชิงเทรา เป็นงานประเพณีที่สืบทอดจากชาวอีสาน มีขบวนแห่ การแสดง และการจุดบั้งไฟที่น่าตื่นตาตื่นใจ
อ้อยเป็นพืชเศรษฐกิจลำดับสี่ของโลก รองจากข้าวสาลี ข้าวโพด และข้าว พืชตระกูลหญ้าที่ให้ความหวานนี้เข้ามาในประเทศไทยเมื่อ 400 ปีก่อน สันนิษฐานว่าพ่อค้าชาวอินเดียนำเข้ามา แม้ถิ่นกำเนิดของอ้อยจะอยู่ในหมู่เกาะแถบมหาสมุทรแปซิฟิก แต่เส้นทางการค้าเมื่อกว่าพันปีก่อนก็ทำให้อ้อยขยายไปทั่วเอเชีย โดยเฉพาะอินเดีย แม้ทุกวันนี้อินเดียก็เป็นผู้ผลิตอ้อยรายใหญ่ลำดับต้นของโลก
ต้นปีจนถึงฤดูร้อน บริเวณปากแม่น้ำบางปะกงเป็นช่วงที่คลื่นลมสงบ นักท่องเที่ยวมักจะมาลงเรือไปดูโลมาอิรวดี ซึ่งบริเวณนี้พบประมาณ 40-50 ตัว ในน่านน้ำแห่งนี้มาตั้งแต่ปี 2545 จนถึงทุกวันนี้
สวนผลไม้ที่ราชทูตฝรั่งเศสมองเห็นจากริมฝั่งแม่น้ำเมื่อกว่า 300 ปีนั้นเป็น “สวนยกร่อง”
ทุกๆ ปีในช่วง 15 ค่ำเดือน 12 จะมีเทศกาลทางวัฒนธรรมที่สำคัญของคนบางปะกง คือ การแห่หลวงพ่อโสธร เทศกาลนี้จัดยาวถึง 5 วัน เริ่มจากการแห่ทางบก จบด้วยการแห่ในแม่น้ำบางปะกงสองวันสุดท้าย แม่น้ำที่มีตำนานเรียกว่า “สายน้ำแห่งมังกร”
พื้นที่ลุ่มน้ำเป็นแหล่งเริ่มต้นของอารยธรรรม ชุดความรู้ที่พัฒนาเป็นภูมิปัญญาที่มีการสืบทอด มักเกิดจากชุมชนริมแม่น้ำ และการสังเกตธรรมชาติเพื่อดำรงชีวิต บางครั้งก็ทำให้เกิดการค้นพบวิธีหาอยู่หากินแบบที่คิดไม่ถึง อย่างเช่นเรื่อง “เรือผีหลอก”
พื้นที่บริเวณนี้จึงเป็นที่รวมของผู้คนหลากหลายชาติพันธุ์ ทำให้เกิดพหุวัฒนธรรมผสมผสานลงตัวเป็นวัฒนธรรมของ “คนบางปะกง”