น้ำดอกไม้ ณ บางคล้า

ชื่อเรื่องสำเนียงเสียงหวานเหมือนสาวน้อยหน้าใส แต่นี่คือเรื่องราวของ “มะม่วง” พืชเก่าแก่วงศ์หนึ่งของโลกที่มีอายุยาวนับย้อนหลังได้ถึง 20-30 ล้านปี
มะม่วงน้ำดอกไม้ ผลสุก

ชื่อเรื่องสำเนียงเสียงหวานเหมือนสาวน้อยหน้าใส แต่นี่คือเรื่องราวของ “มะม่วง” พืชเก่าแก่วงศ์หนึ่งของโลกที่มีอายุยาวนับย้อนหลังได้ถึง 20-30 ล้านปี

มะม่วงเป็นผลไม้เมืองร้อน กลุ่มเดียวกับถั่วพิสตาชีโอและมะม่วงหิมพานต์ ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะม่วง Mangifera Indica พอจะทำให้เรารู้ว่ามีถิ่นกำเนิดในภูมิภาคอินเดีย (Indica แปลว่า มาจากอินเดีย) และบังคลาเทศ รวมทั้งตะวันตกเฉียงเหนือของเมียนมาซึ่งอยู่ใกล้กับอินเดีย

จากร่องรอยฟอสซิลที่พบในถิ่นกำเนิดระบุว่าพืชวงศ์นี้มีอายุย้อนหลัง 20-30 ล้านปี มีความแตกต่างไม่น้อยกว่า 49 สายพันธุ์ และเดินทางไปสู่ประเทศเขตร้อนต่าง ๆ ตามเส้นทางการล่องสำเภาในอดีตไปจนถึงฟิลิปปินส์ และจากฟิลิปปินส์ก็ไปถึงยุโรป แอฟริกา และอเมริกากลาง 

มะม่วงน้ำดอกไม้

คำว่า “มะม่วง” กร่อนมาจาก “หมากม่วง” (mak muengh) ซึ่งเป็นภาษาจ้วง (ใช้ภาษาตระกูลไต ชาวจ้วงเป็นกลุ่มเดียวกับไทดำที่อยู่ทางใต้ของจีน ที่อยู่ติดกับเวียดนาม)

ทั้ง ๆ ที่เป็นพืชนำเข้า แต่เนื่องจากมาตั้งรกรากนานโข เราจึงรู้สึกว่ามะม่วงเป็นไม้ท้องถิ่น พันธุ์ที่ปลูกก็ไม่ยักกะเหมือนเพื่อน โดยเฉพาะแหล่งกำเนิด ทุกวันนี้มะม่วงเป็นพืชเศรษฐกิจ มีพื้นที่การปลูกทั่วประเทศมากกว่า 2 ล้านไร่ ปีหนึ่ง ๆ มีผลผลิตมากกว่า 3 ล้านตัน ส่งออกเป็นอันดับ 3 รองจากฟิลิปิสน์และเม็กซิโก มีมูลค่าการส่งออกกว่า 4,500 ล้านบาท (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2564) ตัวเลขส่งออกนี้ไม่เคยตกเลย ตลาดส่งออกมะม่วงสดของไทยคือ มาเลเซีย เกาหลีใต้ เวียดนาม ญี่ปุ่น ฮ่องกง สิงคโปร์ จีน รัสเซีย ลาว และเมียนมา ส่วนมะม่วงกระป๋อง ตลาดส่งออกที่สำคัญคือญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย ฝรั่งเศส และเยอรมนี

อินเดียกับจีนผลิตมะม่วงได้มากกว่าไทยแน่นอน แต่ส่งออกน้อยกว่า อินเดียผลิตเพื่อบริโภคในประเทศเกือบทั้งหมด จีนก็เช่นกัน และยังผลิตไม่เพียงพอกับความต้องการบริโภค ยังต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ทุกวันนี้จีนเป็นประเทศผู้นำเข้ามะม่วงรายใหญ่อันดับสองของโลก และส่วนหนึ่งมาจากไทย

มะม่วงน้ำดอกไม้

ทำไมต้องบางคล้า?

มะม่วงปลูกที่ไหนก็ได้ แต่ไม่ได้ว่ารสชาติอร่อยทุกที่ พื้นที่ปลูกมะม่วงที่ให้รสชาติล้ำเลิศนั้นอยู่ในภาคกลางกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางเป็นถิ่นเดิมของมะม่วงที่มีความหลากหลายทางด้ายสายพันธุ์ เพราะเมื่อก่อนนิยมขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ถ้าเป็นภาคตะวันออก แหล่งปลูกสำคัญคือ ฉะเชิงเทรากับสระแก้ว เฉพาะที่ฉะเชิงเทราผลิตมะม่วงเข้าสู่ตลาดปีหนึ่ง 20,000-30,000 ตัน

และถ้าเป็น “น้ำดอกไม้” แม่ค้ายกนิ้วให้บางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา

น้ำดอกไม้เป็นมะม่วงสายพันธุ์ยอดนิยม ครองแชมป์ในกลุ่มมะม่วงสุก ทั้งการขายภายในประเทศ และส่งออกต่างประเทศ แต่ถ้าเป็นมะม่วงดิบก็มีหลายสายพันธุ์ เช่น เขียวเสวย แรด ที่มียอดการส่งต่างประเทศแต่ละปีสูงมาก

ข้าวเหนียวมะม่วง ถ้าผิดจากอกร่อง ก็ต้อง “น้ำดอกไม้” เท่านั้น

และถ้าเป็น “เขียวเสวย” พ่อค้ายกนิ้วให้บางคล้าอีกนั่นแหละ

ข้อได้เปรียบของชาวสวนบางคล้าคือ สภาพดินและน้ำ ดินเหนียวปนตะกอน มีธาตุอาหารสมบูรณ์ ดินมีความเค็มเล็กน้อยเพราะได้น้ำกร่อย ข้อได้เปรียบเช่นนี้ทำให้ผลผลิตมะม่วงที่นี่มีรสหวาน เนื้อนุ่ม เป็นแหล่งผลิตที่ได้รับการยกย่องในด้านรสชาติ และคุณภาพระดับพรีเมี่ยม ชาวสวนที่นี่ยังมีทักษะในการห่อผลมะม่วง โดยใช้ถุงดำคาร์บอนซึ่งเป็นถุงทึบแสง มีสองชั้น พอไม่มีแสงก็ไม่มีคลอโรฟิลล์ มะม่วงก็เปลี่ยนสีจากเขียวเป็นเหลือง วิธีนี้เป็นการห่อสาลี่ในประเทศจีนที่ชาวสวนฉะเชิงเทรานำมาประยุกต์ใช้กับมะม่วงแล้วได้ผลดี ทำให้มะม่วงผิวสีสวย มีนวล โดยห่อตั้งแต่มะม่วงอายุ 50-60 วัน ทิ้งไว้ 90-100 วัน ค่อยเก็บผลผลิต ผิวมะม่วงจึงสวยมาก ไม่ต้องบ่มเลย

มะม่วงน้ำดอกไม้

จุดเด่นอีกข้อหนึ่งคือ การปรุงดิน การผลิตมะม่วงให้มีรสหวานอร่อย ต้องอาศัยเทคโนโลยีมาช่วยวิเคราะห์ดิน เพื่อเติมอาหารให้พืช แล้วปรุงดิน (ปรับปุ๋ย) ให้เหมาะสมตรงกับความต้องการของพืช

กลุ่มมะม่วงดิบที่ติดอันดับขายดี ได้แก่ เขียวเสวย ฟ้าลั่น แรด ทวายเดือนเก้า ขายตึก โชคอนันต์ มันขุนศรี ส่วนมะม่วงสุก เรียงลำดับความอร่อย ได้แก่ น้ำดอกไม้เบอร์ 4 น้ำดอกไม้สีทอง อกร่อง และมหาชนก

นอกจากบางคล้า ฉะเชิงเทรายังมีพื้นที่ปลูกมะม่วงกระจายไปหลายอำเภอ ทั้งราชสาส์น แปลงยาว พนมสารคาม สนามชัยเขต ท่าตะเกียบ และคลองเขื่อน ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่สูง ที่ดอน ชาวสวนล้วนมีระบบการจัดสวนที่ดี ส่วนใหญ่ได้การรับรองด้านการจัดสวนตามระบบ GAP

แล้วมะม่วงดองก็เกิดขึ้น

ด้วยความที่ฉะเชิงเทราปลูกมะม่วงแทบทุกอำเภอ “มะม่วงดอง” จึงกลายเป็นธุรกิจที่สำคัญของจังหวัด ยี่ห้อดังที่สุดที่บุกเบิกและสามารถยืนหยัดแข็งแรงมานานถึง 3 รุ่นแล้วคือ “วรพร” บนห่อมีเจ้าหมีสีเหลืองยืนยิ้มเผล่ ผลิตโดย บริษัท ผลไม้แปรรูปวรพร จำกัด

ธุรกิจนี้เริ่มจาก “ไต่ไฮ้ แซ่โคว้” ขาวจีนจากซัวเถาที่เข้ามาตั้งรกรากในฉะเชิงเทราเมื่อกว่า 60 ปีก่อน เห็นว่ามะม่วงออกมาเยอะ กินไม่ทัน จึงนำมาดองตามตำรับซัวเถา แค่ดองใส่โหลขายหน้าบ้านก็สามารถเลี้ยงครอบครัวได้แล้วในยุคนั้น

ต่อมา “ชัยรัตน์  โสธรนพบุตร” ทายาทรุ่นที่สองซึ่งเป็นข้าราชการครูที่สอนวิชาเคมี ลองทำมะม่วงดองไปวางขายตามร้านขาและปั๊มน้ำมัน ก็พบว่ามะม่วงดองเป็น “ธุรกิจ” ได้ เป็นอาชีพที่ทำให้รายได้ดีกว่าทำราชการ ปี 2529 เลยลาออกแล้วหันมาจริงจังเรื่องธุรกิจแปรรูปผลไม้

ขับรถทางไกล หรือขับในเมืองเวลารถติดหนึบหนับ มะม่วงดองจิ้มพริกเกลือนิด ๆ ตาสว่างเลยครับ

TAGS #มะม่วงน้ำดอกไม้บางคล้า #มะม่วงดอง #บางคล้า #ฉะเชิงเทรา #อยู่ดีกินดี #วิถีริมแม่น้ำ #บางปะกง #หาอยู่หากิน #กินตามน้ำ

ที่มา:

https://www.technologychaoban.com/bullet-news-today/article_164309

https://www.technologychaoban.com/agricultural-technology/article_14378

https://plus.thairath.co.th/topic/politics&society/101401

https://www.bangkokbanksme.com/en/10focus-woraporn-hundred-million-pickled-mango

Share:

ท่าข้าม จุดหมายเชิงนิเวศปากแม่น้ำบางปะกง ชุมชนอาหารพื้นบ้านที่ไม่ควรพลาด ลิ้มรสปลากดหัวอ่อนหมกกะปิ แกงส้มหน่อไม้ดอง
โลมาอิรวดีเป็นสัตว์ทะเลหายากที่อาศัยในแม่น้ำบางปะกง กำลังเผชิญภัยคุกคามจากการทำประมงและการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม เรียนรู้การอนุรักษ์และบทบาทของโลมาในระบบนิเวศปากแม่น้ำ
ปากแม่น้ำบางปะกง แหล่งน้ำกร่อยที่เป็นถิ่นอาศัยของโลมาอิรวดี โลมาหลังโหนก โลมาหัวบาตรหลังเรียบ และวาฬบรูด้า
คนบางปะกงใช้ความรู้จากความเข้าใจธรรมชาติเพื่อจัดการชีวิตทั้งเรื่องการอยู่การหากิน โดยไม่ขืนครรลองธรรมชาติ ภูมิปัญญานี้เรียกว่า “นาขาวัง”
“เคยแห้ง” ก็ทำได้แบบนั้น เคยตากแห้งกลิ่นหอมนุ่ม ไม่หอมแรงเหมือนกุ้งแห้ง เคยแทนที่กุ้งทุกอย่างไม่ได้ก็จริง

ส่งข้อความถึงเรา

Tags
ท่าข้าม จุดหมายเชิงนิเวศปากแม่น้ำบางปะกง ชุมชนอาหารพื้นบ้านที่ไม่ควรพลาด ลิ้มรสปลากดหัวอ่อนหมกกะปิ แกงส้มหน่อไม้ดอง และอีกมากมาย พร้อมสัมผัสธรรมชาติริมแม่น้ำ
“เคยแห้ง” ก็ทำได้แบบนั้น เคยตากแห้งกลิ่นหอมนุ่ม ไม่หอมแรงเหมือนกุ้งแห้ง เคยแทนที่กุ้งทุกอย่างไม่ได้ก็จริง แต่ข้อดีคือเคยราคาย่อมเยา และให้คุณค่าด้านโปรตีน แคลเซียม โอเมก้า ไม่แพ้กุ้ง
คำว่า “สลิด” เพี้ยนจากคำว่า “จริต” ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแนะนำให้ราชบริพารเรียกปลาสลิดว่า “ปลาใบไม้” เพื่อความสุภาพ เพราะทรงเห็นว่ามีรูปร่างเหมือนใบไม้
ลิ้มรสปลาแดดเดียวรสเลิศจากปากแม่น้ำบางปะกง และเรื่องราวของป้าเปรม ผู้เชี่ยวชาญด้านการทำปลาแดดเดียว เคล็ดลับความอร่อยที่ไม่เหมือนใคร
มะระขี้นก เป็นสมุนไพรที่คนโบราณรู้จักใช้มาเป็นพันปีแล้ว มะระขี้นกช่วยลดน้ำตาลในคนที่เป็นเบาหวานประเภทที่สอง (แบบไม่พึ่งอินซูลิน)
เรื่องราวของ “ลุงเบี้ยว” บรรจบ พรหมศิริ เป็นคนตำบลท่าข้าม อำเภอบางปะกง คนประมงพื้นบ้านวัย 58 ปี จะออกเรือหาเคยแต่เช้าเป็นวิถีชีวิตริมแม่น้ำ