สยบเบาหวานด้วยรสขมของมะระขี้นก

มะระขี้นก เป็นสมุนไพรที่คนโบราณรู้จักใช้มาเป็นพันปีแล้ว มะระขี้นกช่วยลดน้ำตาลในคนที่เป็นเบาหวานประเภทที่สอง (แบบไม่พึ่งอินซูลิน)
มะระขี้นก

โลกสมัยใหม่มีคนน้ำหนักเกินเยอะมากกว่าเมื่อก่อนเพราะพฤติกรรมการกินการอยู่ที่เกินพอดี การกินไม่เลือกเป็นสาเหตุหลักของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-communicable Diseases; NCDs) 5 โรคที่ส่งผลกระทบอย่างแรงต่อระบบสาธารณสุขของไทย และอาจจะระบบสาธารณสุขของอีกหลาย ๆ ประเทศทั่วโลก เพราะคนทุกวันนี้ใช้ชีวิตคล้าย ๆ กัน

5 โรค NCDs ที่ว่าคือ ความดันโลหิตสูง หัวใจ หลอดเลือดสมอง มะเร็ง และเบาหวาน ซึ่งรวมถึงภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน ที่อาจเกิดขึ้นกับหลอดเลือดขนาดใหญ่และหลอดเลือดขนาดเล็ก เช่น โรคหัวใจ ภาวะแทรกซ้อนทางไต ตา ปลายประสาท และเท้า จนมีคำพูดว่า ถ้าเป็นเบาหวานเมื่อไหร่ก็ให้ระวัง “ตา ไต หัวใจ ตีน” ซึ่งมักเรียงหน้าเข้ามาถ้าไม่ปรับเปลี่ยนการกิน การดื่ม การสูบ และการออกกำลังกาย

เฉพาะโรคเบาหวาน การเก็บข้อมูลในในภาคพื้นแปซิฟิกระบุว่า เมื่อ 2560 ประเทศไทยมีคนเป็นเบาหวาน 4.4 ล้านคน อยู่อันดับ 4 เรียงจาก 3 อันดับแรกคือ จีน อินเดีย และญี่ปุ่น ของไทยนั้นยังพบว่าในปี 2568 ผู้สูงอายุทุก 5 คน จะมี 1 คนที่เป็นเบาหวาน สมาพันธ์เบาหวานนานาชาติ (International Diabetes Federation: IDF) คาดการณ์ว่า พอถึงปี 2583 หรืออีก 16 ปีข้างหน้า ผู้ป่วยเบาหวานในไทยจะเพิ่มเป็น 5.3 ล้านคน คือเพิ่มปีละ 3 แสนคน ส่วนตัวเลขทั้งโลกเวลานี้พบผู้ป่วยโรคเบาหวาน 537 ล้านคน คาดว่าในปี 2588 จะเพิ่มเป็น 783 ล้านคน ประมาณว่าเมื่อถึงตอนนั้นถ้าประชากรโลกเพิ่มเป็น 9,000 ล้านคน จะมีคนป่วยเบาหวานเกือบร้อยละ 9 ของจำนวนประชากรโลก

วิถีชีวิตแบบกินอาหารเป็นยาช่วยให้คนสมัยก่อนห่างไกลโรค พืชรสขมอย่างมะระเป็น “ยา” สยบเบาหวานที่เหมาะกินกับสารพัดน้ำพริกซึ่งติดสำรับทุกมื้อ

มะระมีสองสายพันธุ์ มะระจีนลูกใหญ่เหมาะนำไปผัดและต้ม ราคาเอาเรื่องเหมือนกัน เพราะคนปลูกต้องประคบประหงม ห่อกระดาษไม่ให้แมลงวันทองต่อย ไม่งั้นไม่ได้กินดี แต่ถ้าเป็น “มะระขี้นก” ปลูกแล้วฝากเทวดาเลี้ยงได้ ความขมทำให้แมลงไม่เหลียว

มะระขี้นก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Momordica charantia L.) เป็นสมุนไพรที่คนโบราณรู้จักใช้มาเป็นพันปีแล้ว ทั้งในเอเชีย แอฟริกา และละตินอเมริกา ตำรับอายุรเวทบอกว่า มะระขี้นกช่วยลดน้ำตาลในคนที่เป็นเบาหวานประเภทที่สอง (แบบไม่พึ่งอินซูลิน) ช่วยรักษาตับ บรรเทาโรคเก๊าต์และข้ออักเสบ ในตำรับยาไทยใช้มะระเข้ายาเขียวเพื่อช่วยลดไข้ และใช้รากตำคั้นน้ำแก้โลหิตเป็นพิษ

ปัญหาคือ คนสมัยนี้กินของขม ๆ ไม่ไหว ถนัดแต่หวาน จึงมีการนำมะระขี้นกมาสกัดเพื่อกินแบบพุ่งเป้าเอาผลลัพธ์จริงจัง

มะระขี้นกเป็นพืชสมุนไพรชนิดหนึ่งที่นิยมปลูกในปราจีนบุรี เสร็จแล้วก็ทำเป็นมะระขี้นกแห้ง มีแหล่งรับซื้อทั้งหน่วยงานรัฐและเอกชน หลักเลยคือโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร นำไปผลิตเป็นแคปซูลภายใต้แบรนด์อภัยภูเบศร ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด แก้ไข้ แก้ร้อนใน

แต่การปลูกสมุนไพรเพื่อขายวัตถุดิบอย่างเดียว บางทีก็มีข้อจำกัดเรื่องราคารับซื้อเมื่อผลผลิตบางฤดูออกมาจนล้น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาเขตปราจีนบุรี จึงทำงานวิจัยเพื่อเพิ่มมูลค่ามะระขี้นกแห้ง

ทีมวิจัยนำโดย ดร.เปรมศักดิ์ พวงพลอย ภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตรและการจัดการ คณะอุตสาหกรรมเกษตรดิจิทัล ได้ผลงานวิจัยเป็นผลิตภัณฑ์ “เครื่องดื่มผงพร้อมชงจากสารสกัดมะระขี้นก”
โดยการนำมะระขี้นกแห้งมาแปรรูปด้วยกระบวนการอบในตู้อบลมร้อน เสร็จแล้วบดเป็นผง ผสมกับหญ้าหวาน เพื่อให้ชงดื่มได้ง่าย สารสกัดมะระขี้นกมีสารชาแรนติน (Charantin) ที่ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และสารโพลีฟีนอล (Polyphenol) ที่ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ทำให้รู้สึกสดชื่น

อาจารย์เปรมศักดิ์บอกว่า ปกติมะระขี้นกแห้งจำหน่ายอยู่ที่กิโลกรัมละ 400-500 บาท เมื่อนำมาทำเป็นแคปซูล จำนวน 60 เม็ด จะขายได้ราคาไม่เกิน 100 บาท แต่ถ้าเป็นผลิตภัณฑ์แบบผง 1 กล่อง มี 10 ซองเล็ก จำหน่ายในราคา 200 บาท และเมื่อแปรรูปเป็นผง ก็สามารถต่อยอดเป็นแบบอื่นได้อีกในอนาคต

ผลิตภัณฑ์นี้ทำออกมา 3 รส คือ รสดั้งเดิม กลิ่นมะระขี้นกธรรมดา รสกลิ่นใบเตย เสริมความหอมจากใบเตย และรสกลิ่นมะลิเสริมความหอมจากมะลิ ฉีกซองชงดื่มได้เลย สาระสำคัญสามารถดูดซึมได้ทันทีในปริมาณเหมาะสม เหมาะสำหรับคนที่ไม่ได้เป็นโรคเบาหวานขั้นรุนแรง และดื่มเพื่อป้องกันโรคในเบื้องต้นได้ เมื่อจบโครงการก็ถ่ายทอดเทคโนโลยีดังกล่าวให้ชุมชนที่มีความพร้อม เวลานี้มีวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรบ้านคลองสิบสาม ต.เขาสามสิบ อ.เขาฉกรรจ์ จ.สระแก้ว เป็นผู้ผลิต ชุมชนนี้มีชื่อเสียงเรื่องการปลูกสมุนไพรออแกนิกหลายชนิด และเป็นลูกข่ายที่ป้อนวัตถุดิบให้โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร มานานหลายปี นอกจากนี้ จังหวัดสระแก้วก็หนุนเสริมเกษตรกรในเรื่องนี้ เพราะตั้งธงเป็นเมืองสมุนไพรเช่นเดียวกับปราจีนบุรีที่เป็นเมืองพี่น้องกัน

สนใจผลิตภัณฑ์เข้าไปดูรายละเอียดในลิงค์ https://web.facebook.com/JatoonFarm/?_rdc=1&_rdr

TAGS #มะระขี้นก #สมุนไพรป้องกันเบาหวาน #กินผักเป็นยา #อยู่ดีกินดี #วิถีริมแม่น้ำ #บางปะกง #หาอยู่หากิน #อยู่ดีกินดีที่บางปะกง #กินตามน้ำ


แหล่งอ้างอิง
https://www.novonordisk.com/content/dam/Denmark/HQ/sustainablebusiness/performance-on-tbl/more-about-how-we-work/Creating%20shared%20value/PDF/Thailand%20Blueprint%20for%20Change_2017_TH.pdf

https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/90/%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%82%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%81

https://www.pobpad.com/%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B0-%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%9E

ภาพจากวิกิพีเดีย

Share:

ท่าข้าม จุดหมายเชิงนิเวศปากแม่น้ำบางปะกง ชุมชนอาหารพื้นบ้านที่ไม่ควรพลาด ลิ้มรสปลากดหัวอ่อนหมกกะปิ แกงส้มหน่อไม้ดอง
โลมาอิรวดีเป็นสัตว์ทะเลหายากที่อาศัยในแม่น้ำบางปะกง กำลังเผชิญภัยคุกคามจากการทำประมงและการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม เรียนรู้การอนุรักษ์และบทบาทของโลมาในระบบนิเวศปากแม่น้ำ
ปากแม่น้ำบางปะกง แหล่งน้ำกร่อยที่เป็นถิ่นอาศัยของโลมาอิรวดี โลมาหลังโหนก โลมาหัวบาตรหลังเรียบ และวาฬบรูด้า
คนบางปะกงใช้ความรู้จากความเข้าใจธรรมชาติเพื่อจัดการชีวิตทั้งเรื่องการอยู่การหากิน โดยไม่ขืนครรลองธรรมชาติ ภูมิปัญญานี้เรียกว่า “นาขาวัง”
“เคยแห้ง” ก็ทำได้แบบนั้น เคยตากแห้งกลิ่นหอมนุ่ม ไม่หอมแรงเหมือนกุ้งแห้ง เคยแทนที่กุ้งทุกอย่างไม่ได้ก็จริง

ส่งข้อความถึงเรา

Tags
ท่าข้าม จุดหมายเชิงนิเวศปากแม่น้ำบางปะกง ชุมชนอาหารพื้นบ้านที่ไม่ควรพลาด ลิ้มรสปลากดหัวอ่อนหมกกะปิ แกงส้มหน่อไม้ดอง และอีกมากมาย พร้อมสัมผัสธรรมชาติริมแม่น้ำ
“เคยแห้ง” ก็ทำได้แบบนั้น เคยตากแห้งกลิ่นหอมนุ่ม ไม่หอมแรงเหมือนกุ้งแห้ง เคยแทนที่กุ้งทุกอย่างไม่ได้ก็จริง แต่ข้อดีคือเคยราคาย่อมเยา และให้คุณค่าด้านโปรตีน แคลเซียม โอเมก้า ไม่แพ้กุ้ง
คำว่า “สลิด” เพี้ยนจากคำว่า “จริต” ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแนะนำให้ราชบริพารเรียกปลาสลิดว่า “ปลาใบไม้” เพื่อความสุภาพ เพราะทรงเห็นว่ามีรูปร่างเหมือนใบไม้
ลิ้มรสปลาแดดเดียวรสเลิศจากปากแม่น้ำบางปะกง และเรื่องราวของป้าเปรม ผู้เชี่ยวชาญด้านการทำปลาแดดเดียว เคล็ดลับความอร่อยที่ไม่เหมือนใคร
เรื่องราวของ “ลุงเบี้ยว” บรรจบ พรหมศิริ เป็นคนตำบลท่าข้าม อำเภอบางปะกง คนประมงพื้นบ้านวัย 58 ปี จะออกเรือหาเคยแต่เช้าเป็นวิถีชีวิตริมแม่น้ำ
ทุเรียนพันธุ์ไหนอร่อยที่สุด? คำตอบคือแล้วแต่คนชอบ! บทความนี้จะพาไปสำรวจโลกของทุเรียน ตั้งแต่ความชอบของคนกินแต่ละกลุ่ม ไปจนถึงเคล็ดลับการเลือกทุเรียนให้อร่อยถูกใจ พร้อมแนะนำแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดปราจีนบุรี แหล่งปลูกทุเรียนขึ้นชื่อของไทย อ่านต่อเพื่อค้นพบว่าทำไมทุเรียนถึงเป็นราชาแห่งผลไม้ และพันธุ์ไหนที่ใช่สำหรับคุณ!