วิกฤตแม่น้ำบางปะกง เกิดแล้ว ยังเกิดอยู่ และจะเกิดต่อไป

เครือข่ายอนุรักษ์แม่น้ำบางปะกง แชร์ข่าวสภาพปลากด ปลาดุก ปลาลิ้นหมา กุ้งขาว นับร้อย ๆ ตัวกันลอยตัวขึ้นเหนือน้ำเพื่อฮุบอากาศ และมีลักษณะเกยตื้น ในแม่น้ำบางปะกง
วิกฤตแม่น้ำบางปะกง

เคยอยู่ในสภาพที่ขาดอากาศหายใจบ้างไหม?

เชื่อว่าส่วนใหญ่ไม่เคย แต่คนที่เคยมีประสบการณ์นี้จะรู้ว่าวินาทีแห่งความทรมานเป็นเยี่ยงไร

ออกซิเจนที่ใช้หายใจไม่ได้มีแต่ในอากาศ แม้แต่สัตว์น้ำก็ต้องใช้ออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำในการหายใจ การมีชีวิตของสัตว์น้ำซับซ้อนไม่น้อยกว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อยู่บนบก เมื่อเกิดวิกฤติเรื่องควันไฟ เรื่องฝุ่นละออง PM2.5 เราเรียกร้องอย่างหนักให้มีการแก้ไขอย่างจริงจัง แล้วถ้าสัตว์น้ำขาดอากาศหายใจเพราะสิ่งที่เรากระทำ จะมีใครเรียกร้องให้มีการแก้ไข “อย่างจริงจัง” เพื่อชีวิตเหล่านั้นบ้าง

10 พฤศจิกายน 2566 ที่ผ่านมา เครือข่ายอนุรักษ์แม่น้ำบางปะกง แชร์ภาพ คลิป และข้อความ ที่มีผลทำให้ผู้รับที่เปิดดูน้ำตาตกใน เมื่อเห็นสภาพปลากด ปลาดุก ปลาลิ้นหมา กุ้งขาว นับร้อย ๆ ตัวกันลอยตัวขึ้นเหนือน้ำเพื่อฮุบอากาศ และมีลักษณะเกยตื้น


การตรวจสอบครั้งที่หนึ่ง “ไม่พบปลาตาย”

ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนบน (ศวทบ.) และสำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 2 จังหวัดชลบุรี ลงพื้นที่ตรวจสอบหลังได้รับแจ้งว่าพบปลากดจำนวนมากลอยหัวบริเวณปากอ่าวบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา จากนั้นก็สรุปรายงานว่าได้ตรวจวัดปัจจัยคุณภาพน้ำทะเลพื้นฐาน และเก็บตัวอย่างน้ำทะเล จำนวน 2 จุด ได้แก่ ศูนย์เรียนรู้เครือข่ายประมงบางปะกง และท่าเรือท่าข้าม


11 พฤศจิกายน 2566 ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนบน (ศวทบ.) และสำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 2 จังหวัดชลบุรี ลงพื้นที่ตรวจสอบหลังได้รับแจ้งว่าพบปลากดจำนวนมากลอยหัวบริเวณปากอ่าวบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา จากนั้นก็สรุปรายงานว่าได้ตรวจวัดปัจจัยคุณภาพน้ำทะเลพื้นฐาน และเก็บตัวอย่างน้ำทะเล จำนวน 2 จุด ได้แก่ ศูนย์เรียนรู้เครือข่ายประมงบางปะกง และท่าเรือท่าข้าม ผลการตรวจสอบ “ไม่พบปลาตาย และลอยหัว” พบน้ำเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำตาลแดงทั้งสองพื้นที่ และพบค่าออกซิเจนละลายน้ำต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน คุณภาพน้ำทะเลฯ 2564 ประเภทที่ 3 เพื่อการเพาะเลี้ยง (กรมควบคุมมลพิษ, 2564) ทั้ง 2 พื้นที่ ดังนี้

จุดที่ 1 ศูนย์เรียนรู้เครือข่ายประมงบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา เวลา 10:00 น. ช่วงน้ำลง ระดับผิวน้ำ มีอุณหภูมิน้ำ 30.6 °C pH 7.16 ความเค็ม 11.4 ppt DO 0.81 mg/l พบการสะพรั่งของแพลงก์ตอนพืชกลุ่มไดอะตอม สกุล Chaetoceros spp. โดยชาวบ้านในพื้นที่แจ้งว่าพบว่าน้ำเปลี่ยนสีมาแล้ว 3 วัน

จุดที่ 2 ท่าเรือท่าข้าม จังหวัดฉะเชิงเทรา เวลา 11:30 น. ช่วงน้ำลง อุณหภูมิน้ำ 30.5 °C pH 7.03 ความเค็ม 13.2 ppt DO 0.88 mg/l

หลังจากนี้ ศวทบ. จะดำเนินการรายงานผลการตรวจสอบไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ และติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง

12 พฤศจิกายน 2566 ปลาที่ลอยคอฮุบอากาศก็ขาดใจตาย ลอยเป็นแพเต็มแม่น้ำ เพราะสภาพการขาดออกซิเจนในน้ำไม่ได้เพิ่งเกิดในวันที่มีผู้แจ้งเหตุ แต่เป็นต่อเนื่องมา 4 วันก่อนหน้านี้แล้ว และในรายงานการลงตรวจพื้นที่ครั้งนี้ระบุว่าค่าออกซิเจนในน้ำ หรือ DO อยู่ประมาณ 0.81-0.88 มิลลิกรัม/ลิตร

ระดับออกซิเจนละลายน้ำที่ลดลงต่ำกว่า 5.0 มิลลิกรัม/ลิตร ทำให้เกิดความเครียดต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ ความเข้มข้นที่ต่ำกว่าทำให้เกิดความเครียดมากขึ้น ระดับออกซิเจนที่ต่ำกว่า 1-2 มิลลิกรัม/ลิตร เป็นเวลา 2-3 ชั่วโมง สามารถทำให้ปลาจำนวนมากเสียชีวิต

ไม่ต้องพูดถึงค่าออกซิเจนในน้ำที่เหลือเพียง 0.80-0.88 มิลลิกรัม/ลิตร

การตรวจสอบครั้งที่สอง “พบปริมาณออกซิเจนเป็นศูนย์”


13 พฤศจิกายน ศูนย์นวัตกรรมสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ (ENIC) ลงพื้นที่ไปตรวจสอบในพื้นที่เลี้ยงกระชังปลาริมแม่น้ำบางปะกง หลังจากได้รับการประสานงานขอความช่วยเหลือจากศูนย์ดำรงธรรมอำเภอบางปะกง ซึ่งได้รับแจ้งจากกลุ่มผู้เลี้ยงปลาในกระชัง เมื่อลงพื้นที่ก็พบว่ามีปลาในแม่น้ำบางปะกงลอยตายจำนวนมาก และปริมาณออกซิเจนละลายน้ำเกือบเป็นศูนย์ในหลายจุด

ENIC จึงขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงมาสำรวจ ซึ่งครั้งนี้มาครบแบบทัพหลวง ได้แก่ สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดฉะเชิงเทรา ก็ลงพื้นที่อีกครั้งพร้อมด้วยสำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 13 (ชลบุรี) ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนบน สำนักงานประมงจังหวัดฉะเชิงเทรา สำนักงานประมงอำเภอบางปะกง ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งฉะเชิงเทรา โครงการชลประทานชลบุรี และเทศบาลตำบลท่าข้าม


นี่คือสรุปผลรายงานการสำรวจ

1. คณะผู้ตรวจสอบได้ลงเรือเก็บตัวอย่างน้ำในแม่น้ำบางปะกง จำนวน 8 จุด ประกอบด้วย (1) ศูนย์เรียนรู้เพาะเลี้ยงปลากะพงขาวในกระชัง (บ้านลุงทิน) (2) ใต้สะพานข้ามแม่น้ำบางปะกง ตำบลท่าข้าม (3) บริเวณปากคลองพานทองไหลลงแม่น้ำบางปะกง (4) ที่ว่าการอำเภอบางปะกง (5) ท่าเทียบเรือของบริษัท เอเชีย โกลเด้น ไรซ์ จำกัด (6) บริเวณใกล้ฟาร์มเลี้ยงกุ้งของบริษัท ซีพี (7) บริเวณจุดระบายน้ำของโรงไฟฟ้าบางปะกง และ (8) ปากแม่น้ำบางปะกง

ซึ่งการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำภาคสนาม พบว่า ทั้ง 8 จุด มีค่าออกซิเจนละลายน้ำน้อยกว่า 1 มิลลิกรัม/ลิตร (ปริมาณออกซิเจนละลายน้ำที่เหมาะสมกับการดำรงชีวิตของสัตว์น้ำตั้งแต่ 4 มิลลิกรัม/ลิตร ขึ้นไป)

2. สำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 13 (ชลบุรี) ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนบน และศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งฉะเชิงเทรา ได้เก็บตัวอย่างน้ำในแม่น้ำบางปะกงไปตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ และจะแจ้งผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำให้ทราบในภายหลัง

3. คณะผู้ตรวจสอบไม่พบแหล่งกำเนิดมลพิษปล่อยน้ำเสียลงแม่น้ำบางปะกง และได้แจ้งให้เทศบาลตำบลท่าข้ามเฝ้าระวังการลักลอบปล่อยน้ำเสียลงแม่น้ำบางปะกง 

 

ต้นน้ำคือต้นเหตุ?

เมื่อคณะทัพหลวงแถลงว่า “ไม่พบแหล่งกำเนิดมลพิษ” ที่ปล่อยน้ำเสียจนเป็นสาเหตุให้สัตว์น้ำตายจำนวนมาก นักวิชาการจึงต้องเข้ามาช่วยไขข้อข้องใจ โดยให้คำแนะนำว่า เมื่อพิจารณาจากประมาณเซลล์ของสาหร่าย Chaetoceros (หมายถึงแพลงก์ตอนพืชกลุ่มไดอะตอม สกุล Chaetoceros spp. จากผลการสำรวจครั้งแรกในจุดที่ 1) ที่มีอยู่ประมาณ 115 cells/ml (ตามที่มีการแถลงว่ามีการสะพรั่ง) ถือว่าตัวเลขนี้ไม่มาก แต่ทว่าค่า DO กลับต่ำมาก จึงต้องตามไปวัด “ต้นน้ำ” ว่าค่า DO ต่ำแบบนี้ไหม ถ้าต่ำ แล้วไปสิ้นสุดที่ไหน เพราะผลจากที่คณะสำรวจลงพื้นที่ เป็นการเก็บน้ำในช่วงน้ำลง

ที่น่าสังเกตคือ ต้นน้ำไม่มีอุตสาหกรรมหนักมากเท่ากับช่วงปลายน้ำ แต่สิ่งที่ต้นน้ำมีมากคือ การทำนาที่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชแบบเข้มข้นสูง การปล่อยสารเคมีลงแหล่งน้ำเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้น้ำเสีย ปริมาณออกซิเจนในน้ำลดลง โดยเฉพาะสารกลุ่มฟอสเฟต (ซึ่งมีอยู่ในสบู่และแชมพูสระผมด้วยนะ) กลุ่มคาร์บาเมต กลุ่มไพริทริน เป็นต้น แต่การพาดพิงว่าต้นน้ำคือต้นเหตุก็เป็นแค่การคาดเดาของผู้ที่ได้รับผลกระทบ จะให้รู้แน่ก็ต้องมีการลงพื้นที่สำรวจ ซึ่งเวลานี้ยังไม่มีรายงานว่ามีทัพหลวงลงไปหรือไม่

อีกครั้งหนึ่งที่ภาพความตายแบบนี้เป็นเพียงข่าวเล็ก ๆ ที่แทบไม่ได้รับความสนใจ “อย่างจริงจัง”

TAGS #วิกฤตแม่น้ำบางปะกง #อยู่ดีกินดี #วิถึริมแม่น้ำ #แม่น้ำบางปะกง #หาอยู่หากิน #น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า #

อ้างอิง

https://web.facebook.com/watch/?v=1020291475908541&extid=CL-UNK-UNK-UNK-AN_GK0T-GK1C&ref=sharing&mibextid=Nif5oz&_rdc=1&_rdr

.

https://web.facebook.com/100044261242622/posts/pfbid02hBMpdCBFY3Uuq7G4WPwXa7s6wp2qMpgW1EMYBP9DfFrEA2ock8ZnNxcf5GybmewUl/?mibextid=Nif5oz&_rdc=1&_rdr

.

https://www.facebook.com/thakambangpakong

ขอบพระคุณเจ้าของภาพทุกภาพ

Share:

ท่าข้าม จุดหมายเชิงนิเวศปากแม่น้ำบางปะกง ชุมชนอาหารพื้นบ้านที่ไม่ควรพลาด ลิ้มรสปลากดหัวอ่อนหมกกะปิ แกงส้มหน่อไม้ดอง
โลมาอิรวดีเป็นสัตว์ทะเลหายากที่อาศัยในแม่น้ำบางปะกง กำลังเผชิญภัยคุกคามจากการทำประมงและการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม เรียนรู้การอนุรักษ์และบทบาทของโลมาในระบบนิเวศปากแม่น้ำ
ปากแม่น้ำบางปะกง แหล่งน้ำกร่อยที่เป็นถิ่นอาศัยของโลมาอิรวดี โลมาหลังโหนก โลมาหัวบาตรหลังเรียบ และวาฬบรูด้า
คนบางปะกงใช้ความรู้จากความเข้าใจธรรมชาติเพื่อจัดการชีวิตทั้งเรื่องการอยู่การหากิน โดยไม่ขืนครรลองธรรมชาติ ภูมิปัญญานี้เรียกว่า “นาขาวัง”
“เคยแห้ง” ก็ทำได้แบบนั้น เคยตากแห้งกลิ่นหอมนุ่ม ไม่หอมแรงเหมือนกุ้งแห้ง เคยแทนที่กุ้งทุกอย่างไม่ได้ก็จริง

ส่งข้อความถึงเรา

Tags
โลมาอิรวดีเป็นสัตว์ทะเลหายากที่อาศัยในแม่น้ำบางปะกง กำลังเผชิญภัยคุกคามจากการทำประมงและการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม เรียนรู้การอนุรักษ์และบทบาทของโลมาในระบบนิเวศปากแม่น้ำ
ปากแม่น้ำบางปะกง แหล่งน้ำกร่อยที่เป็นถิ่นอาศัยของโลมาอิรวดี โลมาหลังโหนก โลมาหัวบาตรหลังเรียบ และวาฬบรูด้า แต่จำนวนโลมาอิรวดีลดลงเหลือเพียง 22 ตัว จากภัยคุกคามทางสิ่งแวดล้อม การฟื้นฟูป่าชายเลน
คนบางปะกงใช้ความรู้จากความเข้าใจธรรมชาติเพื่อจัดการชีวิตทั้งเรื่องการอยู่การหากิน โดยไม่ขืนครรลองธรรมชาติ ภูมิปัญญานี้เรียกว่า “นาขาวัง”
เคยเป็นตัวชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศชายฝั่งและทะเล มีความสัมพันธ์ระหว่างเคยกับความหลากหลายทางชีวภาพ การประมงความอยู่ดีกินดีของชุมชน
ประมงพื้นบ้านมีความรู้ในการทำปะการังเทียมมานานหลายพันปีแล้ว องค์ความรู้นี้พบเห็นได้ในทะเลแถบอินโดแปซิฟิก ชาวประมงจะใช้โครงสร้างไม้ไผ่ และใบปาล์ม หรือทางมะพร้าว สะกันไว้เป็นห้องๆ เพื่อดึงดูดสัตว์น้ำ อุปกรณ์แบบนี้ถ้าเป็นคนประมงบ้านเราแถวอ่าวไทยตอนบน อย่างเช่น คนบางปะกง
จอมยุทธ์หนึ่งเดียวในชุมชนคลองหัวจาก ตำบลบางปะกง อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา ที่เลี้ยงตัวด้วยป่าจากจนทุกวันนี้ เป็นเวลากว่า 60 ปี และยังทำหน้าที่สางป่าให้อยู่ในสภาพที่ไม่ตกขโมง