“แม่หอบ” แม่นี้…มีแต่ให้

แม่หอบ หรือ จอมหอบ (Mud lobster, Mangrove lobster) เป็นสัตว์น้ำไม่มีกระดูกสันหลังในกลุ่มครัสเตเชียนชนิดหนึ่ง อยู่ในสกุล Thalassina จัดเป็นสิ่งมีชีวิตดึกดำบรรพ์ที่ถือกำเนิดมาตั้งแต่ยุคไมโอซีนเมื่อ 16 ล้านปีก่อน
แม่หอบ หรือ จอมหอบ (Mud lobster, Mangrove lobster) เป็นสัตว์น้ำไม่มีกระดูกสันหลังในกลุ่มครัสเตเชียนชนิดหนึ่ง อยู่ในสกุล Thalassina จัดเป็นสิ่งมีชีวิตดึกดำบรรพ์ที่ถือกำเนิดมาตั้งแต่ยุคไมโอซีนเมื่อ 16 ล้านปีก่อน

เมื่อปี 2547 ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนบน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ทำงานวิจัยโดยสำรวจความหลากหลายของทรัพยากรประมงในแม่น้ำบางปะกง ครอบคลุมสองฤดูกาล คือ ฤดูแล้งกับฤดูฝน พบทรัพยากรประมงที่ประกอบด้วยปลา 155 ชนิด จาก 50 วงศ์ และสัตว์น้ำอื่นๆ 35 ชนิด จาก 19 วงศ์ ในจำนวนนี้มี “แม่หอบ” รวมอยู่ด้วย

แม่หอบ หรือ จอมหอบ (Mud lobster, Mangrove lobster) เป็นสัตว์น้ำไม่มีกระดูกสันหลังในกลุ่มครัสเตเชียนชนิดหนึ่ง อยู่ในสกุล Thalassina จัดเป็นสิ่งมีชีวิตดึกดำบรรพ์ที่ถือกำเนิดมาตั้งแต่ยุคไมโอซีนเมื่อ 16 ล้านปีก่อน

การขยายตัวของอุตสาหกรรมทำให้ป่าชายเลนและระบบนิเวศแม่น้ำบางปะกงเปลี่ยนไปชนิดหน้ามือเป็นหลังมือ ไม่มีรายงานการพบแม่หอบในบริเวณปากอ่าวไทยตอนบนจนถึงอ่าวไทยตอนล่าง ต่างจากฝั่งอันดามันที่ยังพบจำนวนมาก (เพราะอุตสาหกรรมยังไปไม่ถึง) โดยเฉพาะในจังหวัดระนอง ที่ประกาศอย่างภาคภูมิใจว่าแม่หอบ

แม่หอบเป็นประดิษฐกรรมธรรมชาติที่ผสมผสานกันลงตัวระหว่างกุ้ง ปู และแมงป่อง ส่วนหัวเหมือนกุ้ง ลำตัวสีแดงเข้มเป็นกล้องๆ เหมือนกั้ง ท้องยาวเรียวไม่มีแพน หางเหมือนกุ้งแต่เป็นปล้องเหมือนหางแมงป่อง ขนาดลำตัวความยาวหัวจรดหางประมาณ 20-30 เซนติเมตร ขาคู่แรกใหญ่เหมือนก้ามปู กล้ามโตๆ นี้ทำหน้าที่เดิน ขุดรู และขนดินออกมาพูนไว้เป็นยอดแหลมเรียกว่า “จอมหอบ” ทำให้สามารถสังเกตเห็นรูอาศัยของแม่หอบที่มีลักษณะเหมือนจอมปลวกซึ่งสูงประมาณ 1-2 เมตร

จอมหอบที่แม่หอบสร้าง ไม่ได้เป็นแค่ที่อยู่ของเจ้าตัวเท่านั้น แต่ยังเป็นบ้านและที่หลบภัยของสัตว์เล็กสัตว์น้อยในป่าชายเลนอีกมากมาย ทั้งงู ปู หอย กุ้ง ปลา ยอดจอมหอบยังเป็นจุดพัก หรือ stepping stone ให้นกที่หากินในละแวกนั้น และพืชบางชนิดก็สามารถเติบโตได้ดีในกองดินที่แม่หอบขุดขึ้นมานี้ด้วย

แม่หอบสามารถอยู่บนได้นานกว่าสัตว์จำพวกครัสเตเชี่ยนชนิดอื่นๆ นางกินอาหารที่เป็นอินทรียสารที่อยู่ในดินเลนในช่วงเวลากลางคืน เมื่อแม่หอบกินดินโคลนในป่าชายเลน นางจะรีไซเคิลอาหารจากใต้ดินแล้วส่งขึ้นมาด้านบน สารอาหารที่แม่หอบรีไซเคิลขึ้นมาจะเป็นอาหารของพืชที่อยู่ในบริเวณนั้น การขุดรูของแม่หอบยังทำให้เลนคลายตัว ช่วยให้ออกซิเจนระบายผ่านพื้นดินได้ดีขึ้น คล้ายๆ กับไส้เดือนที่ช่วยพรวนดินให้ร่วนซุยขึ้น

เมื่อปี 2563 มีการศึกษาระบบการทำจอมหอบเพื่อฟื้นป่าพรุในจังหวัดพังงา รวมทั้งเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการฟื้นฟูพื้นที่บ่อกุ้งร้าง หรือป่าชายเลนเสื่อมโทรมที่มีน้ำท่วมสูงหรือขังเป็นเวลานาน โดยการปรับสภาพพื้นที่ให้คล้ายจอมหอบ จากนั้นจึงปลูกต้นไม้ในบริเวณดังกล่าว เป็นเทคนิคการฟื้นฟูป่าที่เรียกว่า “แม่หอบโมเดล” แต่เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 จึงยังไม่ได้มีการไปติดตามผลการทดลองโมเดลดังว่านี้

คนสมัยก่อนเชื่อว่าการกินเนื้อแม่หอบจะช่วยบรรเทาอาการโรคหอบหืดได้ แต่ยังไม่เคยมีงานวิจัยทางการแพทย์ยืนยันในข้อนี้ และก็ไม่สามารถสืบสาวได้ว่าชื่อแม่หอบ มาก่อนความเชื่อ (ว่ารักษาโรคหอบหืดได้) หรือความเชื่อมาก่อน จึงมีการตั้งชื่อว่าแม่หอบ สองเรื่องนี้พิสูจน์ไม่ได้ แต่สิ่งที่พิสูจน์ได้คือ แม้จะเป็นสัตว์โลกล้านปี แต่แม่หอบมีความบอบบาง เช่น ในช่วงฤดูมรสุมน้ำทะเลอาจท่วมรูของแม่หอบ นางก็ตายได้แล้ว ไม่ต้องพูดถึงภัยคุกคามอื่นๆ

ชีวิตที่สามารถดำรงอยู่ได้มานานนับล้านปี กลับอยู่ในสถานะเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ในวันที่มนุษย์อยู่บนยอดสุดของห่วงโซ่อาหารนี่เอง

TAGS #แม่หอบ #อยู่ดีกินดี #วิถีริมแม่น้ำ #บางปะกง #น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า

ข้อมูลและภาพ

อ้างอิง

  • ความหลากหลายทรัพยากรประมงในแม่น้ำบางปะกง. สุชาติ สว่างอารีย์รักษ์, สุรศักดิ์ ทองสุกดี และ ศิวพร ราชสุวรรณ. ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนบน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, 2547
  • https://km.dmcr.go.th/c_218/s_221/d_2553#.Um99f3BHKg8
แม่หอบ หรือ จอมหอบ (Mud lobster, Mangrove lobster) เป็นสัตว์น้ำไม่มีกระดูกสันหลังในกลุ่มครัสเตเชียนชนิดหนึ่ง อยู่ในสกุล Thalassina จัดเป็นสิ่งมีชีวิตดึกดำบรรพ์ที่ถือกำเนิดมาตั้งแต่ยุคไมโอซีนเมื่อ 16 ล้านปีก่อน

ลักษณะแม่หอบที่มีส่วนผสมของกุ้ง ปู และแมงป่อง

ภาพจาก http://www.wildsingapore.com/wildfacts/crustacea/othercrust/lobster/thalassina.htm

จอมหอบที่แม่หอบสร้าง ไม่ได้เป็นแค่ที่อยู่ของเจ้าตัวเท่านั้น แต่ยังเป็นบ้านและที่หลบภัยของสัตว์เล็กสัตว์น้อยในป่าชายเลนอีกมากมาย ทั้งงู ปู หอย กุ้ง ปลา ยอดจอมหอบยังเป็นจุดพัก หรือ stepping stone ให้นกที่หากินในละแวกนั้น และพืชบางชนิดก็สามารถเติบโตได้ดีในกองดินที่แม่หอบขุดขึ้นมานี้ด้วย

จอมหอบที่สูงขึ้นจากพื้นดินเกือบ 2 เมตร

ภาพจาก http://www.wildsingapore.com/wildfacts/crustacea/othercrust/lobster/thalassina.htm

โดยการปรับสภาพพื้นที่ให้คล้ายจอมหอบ จากนั้นจึงปลูกต้นไม้ในบริเวณดังกล่าว เป็นเทคนิคการฟื้นฟูป่าที่เรียกว่า “แม่หอบโมเดล”

กราฟฟิกแสดงให้เห็นว่าจอมหอบไม่เพียงเป็นรูของแม่หอบ แต่ยังเป็นที่อาศัยของสัตว์และพืชในป่าชายเลน

ภาพจาก http://www.wildsingapore.com/wildfacts/crustacea/othercrust/lobster/thalassina.htm

น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า , เรื่องเล่าริมสายน้ำ

Share:

ท่าข้าม จุดหมายเชิงนิเวศปากแม่น้ำบางปะกง ชุมชนอาหารพื้นบ้านที่ไม่ควรพลาด ลิ้มรสปลากดหัวอ่อนหมกกะปิ แกงส้มหน่อไม้ดอง
โลมาอิรวดีเป็นสัตว์ทะเลหายากที่อาศัยในแม่น้ำบางปะกง กำลังเผชิญภัยคุกคามจากการทำประมงและการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม เรียนรู้การอนุรักษ์และบทบาทของโลมาในระบบนิเวศปากแม่น้ำ
ปากแม่น้ำบางปะกง แหล่งน้ำกร่อยที่เป็นถิ่นอาศัยของโลมาอิรวดี โลมาหลังโหนก โลมาหัวบาตรหลังเรียบ และวาฬบรูด้า
คนบางปะกงใช้ความรู้จากความเข้าใจธรรมชาติเพื่อจัดการชีวิตทั้งเรื่องการอยู่การหากิน โดยไม่ขืนครรลองธรรมชาติ ภูมิปัญญานี้เรียกว่า “นาขาวัง”
“เคยแห้ง” ก็ทำได้แบบนั้น เคยตากแห้งกลิ่นหอมนุ่ม ไม่หอมแรงเหมือนกุ้งแห้ง เคยแทนที่กุ้งทุกอย่างไม่ได้ก็จริง

ส่งข้อความถึงเรา

Tags
โลมาอิรวดีเป็นสัตว์ทะเลหายากที่อาศัยในแม่น้ำบางปะกง กำลังเผชิญภัยคุกคามจากการทำประมงและการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม เรียนรู้การอนุรักษ์และบทบาทของโลมาในระบบนิเวศปากแม่น้ำ
ปากแม่น้ำบางปะกง แหล่งน้ำกร่อยที่เป็นถิ่นอาศัยของโลมาอิรวดี โลมาหลังโหนก โลมาหัวบาตรหลังเรียบ และวาฬบรูด้า แต่จำนวนโลมาอิรวดีลดลงเหลือเพียง 22 ตัว จากภัยคุกคามทางสิ่งแวดล้อม การฟื้นฟูป่าชายเลน
คนบางปะกงใช้ความรู้จากความเข้าใจธรรมชาติเพื่อจัดการชีวิตทั้งเรื่องการอยู่การหากิน โดยไม่ขืนครรลองธรรมชาติ ภูมิปัญญานี้เรียกว่า “นาขาวัง”
เคยเป็นตัวชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศชายฝั่งและทะเล มีความสัมพันธ์ระหว่างเคยกับความหลากหลายทางชีวภาพ การประมงความอยู่ดีกินดีของชุมชน
ประมงพื้นบ้านมีความรู้ในการทำปะการังเทียมมานานหลายพันปีแล้ว องค์ความรู้นี้พบเห็นได้ในทะเลแถบอินโดแปซิฟิก ชาวประมงจะใช้โครงสร้างไม้ไผ่ และใบปาล์ม หรือทางมะพร้าว สะกันไว้เป็นห้องๆ เพื่อดึงดูดสัตว์น้ำ อุปกรณ์แบบนี้ถ้าเป็นคนประมงบ้านเราแถวอ่าวไทยตอนบน อย่างเช่น คนบางปะกง
จอมยุทธ์หนึ่งเดียวในชุมชนคลองหัวจาก ตำบลบางปะกง อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา ที่เลี้ยงตัวด้วยป่าจากจนทุกวันนี้ เป็นเวลากว่า 60 ปี และยังทำหน้าที่สางป่าให้อยู่ในสภาพที่ไม่ตกขโมง