นาขาวัง วิถีที่ไหลไปกับเวลาและวารี

คนบางปะกงใช้ความรู้จากความเข้าใจธรรมชาติเพื่อจัดการชีวิตทั้งเรื่องการอยู่การหากิน โดยไม่ขืนครรลองธรรมชาติ ภูมิปัญญานี้เรียกว่า “นาขาวัง”
อำเภอบางปะกงอยู่ช่วงปลายแม่น้ำบางปะกง ระบบนิเวศที่นี่มีทั้งน้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำเค็ม เนิ่นนานมาแล้วที่คนบางปะกงใช้ความรู้จากความเข้าใจธรรมชาติเพื่อจัดการชีวิตทั้งเรื่องการอยู่การหากิน โดยไม่ขืนครรลองธรรมชาติ ภูมิปัญญานี้เรียกว่า “นาขาวัง”

อำเภอบางปะกงอยู่ช่วงปลายแม่น้ำบางปะกง ระบบนิเวศที่นี่มีทั้งน้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำเค็ม เนิ่นนานมาแล้วที่คนบางปะกงใช้ความรู้จากความเข้าใจธรรมชาติเพื่อจัดการชีวิตทั้งเรื่องการอยู่การหากิน โดยไม่ขืนครรลองธรรมชาติ ภูมิปัญญานี้เรียกว่า “นาขาวัง”

คนบางกะปงยุคอนาล็อกอาจเคยกินข้าวพันธุ์พื้นเมืองที่ชอบดินเค็ม บางคนอาจเคยเห็นการขุดร่องเป็นคันนากว้างเพื่อปลูกข้าว ครั้นพอถึงหน้าแล้งก็ปล่อยน้ำเค็มเข้าเพื่อเลี้ยงสัตว์น้ำ นี่คือลักษณะการทำเกษตรร่วมกันแบบนาขาวัง แต่รูปแบบชีวิตที่อิงธรรมชาติแบบนี้แทบหาไม่ได้แล้ว นับตั้งแต่พื้นที่ลุ่มน้ำบางปะกงตอนปลายน้ำเปลี่ยนไปเป็นพื้นที่อุตสาหกรรมมาตลอด 40 ปีนี้

ที่ยังเหลือให้เห็นเวลานี้มีอยู่เพียงแห่งเดียวในบางปะกง คือบ้านเขาดิน

“เขาดิน” เป็นตำบลหนึ่งในอำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นพื้นที่ราบลุ่มที่ขนานกับแม่น้ำบางปะกง เขาดินมีน้ำจืดระยะสั้นแค่ 4-5 เดือน ที่เหลือ 8 เดือนเป็นช่วงน้ำกร่อยและน้ำเค็ม ตำบลเขาดินมี 7 หมู่บ้าน ในจำนวนนี้ 3 หมู่บ้านอยู่ริมน้ำตรงที่ลำน้ำตวัดโค้งพอดี หนึ่งในนั้นคือบ้านเขาดิน (หมู่ที่ 7) ซึ่งเป็นชุมชนที่เหลือเพียงแห่งเดียวบางปะกงที่ไม่ได้ทำประตูกั้นน้ำเค็มเหมือนอย่างที่อื่นๆ เขาดินมีน้ำจืดระยะสั้นแค่ 4-5 เดือน ที่เหลือ 8 เดือนเป็นช่วงน้ำกร่อยและน้ำเค็ม การอยู่กับน้ำเค็มนาน ๆ โดยไม่ปิดกั้นน้ำขึ้นน้ำลง หรือการเข้ามาของน้ำเค็ม ทำให้ชาวบ้านเรียนรู้กลไกธรรมชาติจนสามารถสร้างความมั่งคงทางอาหาร

ชาวบ้านจะทำคันนาโดยการขุดร่องน้ำล้อมแปลงนา ความลึกประมาณเมตรครึ่งถึงสองเมตร กว้างประมาณสองเมตรครึ่ง ความกว้างนั้นยิ่งกว้างยิ่งดี จะช่วยให้ด้านล่างคูน้ำมีออกซิเจนมากขึ้นเหมาะกับตอนที่เลี้ยงสัตว์น้ำในช่วงน้ำเค็ม ขอบคันนาที่ลึกเป็นร่องคือความหมายของ “ขาวัง” จากนั้นก็ทำประตูน้ำเพื่อความสะดวกในการควบคุมน้ำเข้า-ออกตามต้องการ ด้านในของประตูติดตาข่ายตาถี่เพื่อกรองลูกสัตว์น้ำไว้ใน “ขาวัง” ตอนที่ปล่อยน้ำออก

อำเภอบางปะกงอยู่ช่วงปลายแม่น้ำบางปะกง ระบบนิเวศที่นี่มีทั้งน้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำเค็ม เนิ่นนานมาแล้วที่คนบางปะกงใช้ความรู้จากความเข้าใจธรรมชาติเพื่อจัดการชีวิตทั้งเรื่องการอยู่การหากิน โดยไม่ขืนครรลองธรรมชาติ ภูมิปัญญานี้เรียกว่า “นาขาวัง”
ประตูกั้นน้ำเข้าที่นา

เมื่อถึงช่วงหน้าฝนที่มีน้ำจืดมาก ชาวบ้านจะเปิดประตูให้น้ำเข้าเพื่อล้างดินให้จืด ซึ่งมักใช้เวลาไม่น้อยกว่าสองสัปดาห์ การขุดร่องน้ำรอบแปลงนามีส่วนสำคัญที่ช่วยจัดการความเค็มที่ตกค้างในดิน เพราะน้ำเค็มจะอยู่ต่ำกว่าน้ำจืด การเปิดให้น้ำจืดเข้ามาล้างดินทำให้ความเค็มที่ตกค้าง ไหลไปรวมกันในร่องหรือคูน้ำซึ่งอยู่ต่ำกว่า เมื่อเปิดน้ำออก ความเค็มก็ถูกระบายออกไปด้วย เมื่อข้าวอายุได้ 30 วัน ก็จะปล่อยกุ้งก้ามกราม หรือปลาไปเลี้ยงร่วมในแปลงนาด้วย

ทุกวันนี้เขาดินมีชื่อในการปลูกข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1 หรือ “หอมปทุม” ซึ่งเป็นพันธุ์ข้าวที่ชอบดินเค็มนิด ๆ และได้ปุ๋ยธรรมชาติจากตะกอนแม่น้ำกับเปลือกกุ้งที่ลอกคราบทิ้งไว้ ซึ่งเป็นผลจากภูมิปัญญาในการจัดการดินและน้ำอย่างเหมาะสม

ก่อนเกี่ยวข้าว สัตว์น้ำก็โตได้ขนาด สามารถจับขายได้ ส่วนที่ยังไม่ได้ขนาดก็เลี้ยงต่อ เมื่อข้าวอายุได้ 120 วัน (ข้าวหอมปทุมอายุเกี่ยวประมาณ 115 วัน) จะทำการเก็บเกี่ยว ข้าวที่ปลูกในนาขาวังจะให้ผลผลิตต่อไร่สูง เพราะอุดมด้วยธาตุอาหารที่สะสมอยู่ในดินจากการย่อยสลายของซากพืชและมูลสัตว์ ข้าวคุณภาพดี เพราะดินที่มีความเค็มเล็กน้อยทำให้หญ้าหรือพืชอื่น ๆ ไม่สามารถโตได้ ข้าวจึงมีสิ่งเจือปนน้อย ร่องน้ำที่เป็นคันนาก็ช่วยในตอนเก็บเกี่ยว เพราะทำให้พื้นนาแห้ง ข้าวที่เก็บเกี่ยวมีความชื้นต่ำ กลายเป็นข้าวคุณภาพเพราะปัจจัยต่าง ๆ

ปูทะเลจะติดเข้ามาในนาตอนเปิดประตูน้ำเข้านาขาวัง
ปูทะเลจะติดเข้ามาในนาตอนเปิดประตูน้ำเข้านาสวน

หลังเก็บเกี่ยวข้าว น้ำเค็มจะหนุนเข้ามาตามลำน้ำซึ่งเป็นช่วงหน้าแล้ง ก็จะปล่อยให้น้ำเค็มเข้านาขาวัง ทิ้งไว้ประมาณหนึ่งสัปดาห์ ตอนที่ปล่อยน้ำเค็มเข้ามาก็มักจะได้หอยกะพัง หอยกะพง และปูทะเล ติดเข้าด้วย น้ำเค็มที่เข้ามาในนาขาวังยังช่วยย่อยสลายฟางข้าวที่ทำให้เกิดหนอนแดง ไรแดง สัตว์หน้าเลน และแพลงก์ตอนสัตว์ ถึงตอนนี้อาหารก็พร้อมในบ่อ ได้เวลาปล่อยลูกพันธุ์สัตว์น้ำที่สามารถเลี้ยงร่วมกันได้ เช่น กุ้ง ปูทะเล ปลาน้ำกร่อย-น้ำเค็มพวก ปลากะพงขาว ปลาหมอเทศ นาขาวังจึงเป็นการเกษตรสองระบบที่สร้างรายได้หมุนเวียนตลอดทั้งปี

อำเภอบางปะกงอยู่ช่วงปลายแม่น้ำบางปะกง ระบบนิเวศที่นี่มีทั้งน้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำเค็ม เนิ่นนานมาแล้วที่คนบางปะกงใช้ความรู้จากความเข้าใจธรรมชาติเพื่อจัดการชีวิตทั้งเรื่องการอยู่การหากิน โดยไม่ขืนครรลองธรรมชาติ ภูมิปัญญานี้เรียกว่า “นาขาวัง”
กุ้งแม่น้ำ

การไม่ฝืนธรรมชาติ แต่ใช้ความรู้ในการจัดการกับกลไกธรรมชาติ คือวิถีเกษตรยั่งยืน

TAGS #นาขาวัง #บ้านเขาดิน #อยู่ดีกินดี #วิถีริมแม่น้ำ #บางปะกง #หาอยู่หากิน #อยู่ดีกินดีที่แม่น้ำบางปะกง #น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า

อ้างอิง

มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ http://agrinature.or.th/

.

ภาพประกอบจาก

https://www.ajourneyinspiredbytheking.org/th/knowledge/local-knowledge-detail.php?id=28

https://www.technologychaoban.com/bullet-news-today/article_185704

Share:

ท่าข้าม จุดหมายเชิงนิเวศปากแม่น้ำบางปะกง ชุมชนอาหารพื้นบ้านที่ไม่ควรพลาด ลิ้มรสปลากดหัวอ่อนหมกกะปิ แกงส้มหน่อไม้ดอง
โลมาอิรวดีเป็นสัตว์ทะเลหายากที่อาศัยในแม่น้ำบางปะกง กำลังเผชิญภัยคุกคามจากการทำประมงและการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม เรียนรู้การอนุรักษ์และบทบาทของโลมาในระบบนิเวศปากแม่น้ำ
ปากแม่น้ำบางปะกง แหล่งน้ำกร่อยที่เป็นถิ่นอาศัยของโลมาอิรวดี โลมาหลังโหนก โลมาหัวบาตรหลังเรียบ และวาฬบรูด้า
“เคยแห้ง” ก็ทำได้แบบนั้น เคยตากแห้งกลิ่นหอมนุ่ม ไม่หอมแรงเหมือนกุ้งแห้ง เคยแทนที่กุ้งทุกอย่างไม่ได้ก็จริง
คำว่า “สลิด” เพี้ยนจากคำว่า “จริต” ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ส่งข้อความถึงเรา

Tags
โลมาอิรวดีเป็นสัตว์ทะเลหายากที่อาศัยในแม่น้ำบางปะกง กำลังเผชิญภัยคุกคามจากการทำประมงและการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม เรียนรู้การอนุรักษ์และบทบาทของโลมาในระบบนิเวศปากแม่น้ำ
ปากแม่น้ำบางปะกง แหล่งน้ำกร่อยที่เป็นถิ่นอาศัยของโลมาอิรวดี โลมาหลังโหนก โลมาหัวบาตรหลังเรียบ และวาฬบรูด้า แต่จำนวนโลมาอิรวดีลดลงเหลือเพียง 22 ตัว จากภัยคุกคามทางสิ่งแวดล้อม การฟื้นฟูป่าชายเลน
เคยเป็นตัวชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศชายฝั่งและทะเล มีความสัมพันธ์ระหว่างเคยกับความหลากหลายทางชีวภาพ การประมงความอยู่ดีกินดีของชุมชน
ประมงพื้นบ้านมีความรู้ในการทำปะการังเทียมมานานหลายพันปีแล้ว องค์ความรู้นี้พบเห็นได้ในทะเลแถบอินโดแปซิฟิก ชาวประมงจะใช้โครงสร้างไม้ไผ่ และใบปาล์ม หรือทางมะพร้าว สะกันไว้เป็นห้องๆ เพื่อดึงดูดสัตว์น้ำ อุปกรณ์แบบนี้ถ้าเป็นคนประมงบ้านเราแถวอ่าวไทยตอนบน อย่างเช่น คนบางปะกง
จอมยุทธ์หนึ่งเดียวในชุมชนคลองหัวจาก ตำบลบางปะกง อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา ที่เลี้ยงตัวด้วยป่าจากจนทุกวันนี้ เป็นเวลากว่า 60 ปี และยังทำหน้าที่สางป่าให้อยู่ในสภาพที่ไม่ตกขโมง
ป่าชายเลนบริเวณปากแม่น้ำบางปะกงมีพันธุ์ไม้มากกว่า 80 ชนิด แต่ชนิดที่คนใช้ประโยชน์ได้แทบทุกส่วน คือต้นจาก สมัย 40-50 ปีก่อน จากเป็นพืชที่ผูกพันกับทุกชีวิต อาหาร