โลมาอิรวดี ณ ปากแม่น้ำบางปะกง

ต้นปีจนถึงฤดูร้อน บริเวณปากแม่น้ำบางปะกงเป็นช่วงที่คลื่นลมสงบ นักท่องเที่ยวมักจะมาลงเรือไปดูโลมาอิรวดี ซึ่งบริเวณนี้พบประมาณ 40-50 ตัว ในน่านน้ำแห่งนี้มาตั้งแต่ปี 2545 จนถึงทุกวันนี้
โลมาอิรวดี ณ ปากแม่น้ำบางปะกง

วันหนึ่งในปี พ.ศ. 2409 (ช่วงกลางสมัยรัชกาลที่ 5) ณ ท่าเรือเมืองวิศาขาปัฏฏนัม รัฐอานธรประเทศ ซึ่งอยู่ทางฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย เซอร์ ริชาร์ด โอเวน (20 ก.ค. 2347 – 18 ธ.ค. 2435) นักชีววิทยาและนักบรรพชีวินวิทยาชาวอังกฤษ มองเห็นโลมาชนิดหนึ่งมาป้วนเปี้ยนบริเวณท่าเรือ หน้าตาไม่เหมือนโลมาในทะเลลึก โลมาที่เขาเห็นมีหัวทุย ๆ ปากทู่ ๆ ไม่มีจงอย แถมครีบหลังก็อันกะจิ๊ดเดียว เขาบันทึกสิ่งที่พบ และนั่นเป็นครั้งแรกที่ “โลมาอิรวดี” ถูกเขียนไว้ในสารบบสิ่งมีชีวิต โดยที่ยังไม่ได้มีชื่อดังว่า

แม้เซอร์โอเวนจะเป็นผู้บันทึกการพบโลมาชนิดนี้คนแรก แต่ตอนนั้นเขาก็ยังไม่มีความรู้เรื่องโลมาชนิดนี้ท่าไหร่ จนกระทั่งมีการพบในลักษณะกลุ่มประชากรครั้งแรกที่แม่น้ำอิรวดี แม่น้ำสายใหญ่ที่สุดซึ่งเป็นเส้นทางการค้าสำคัญที่สุดของประเทศเมียนมา จึงมีผู้ตั้งชื่อว่า “โลมาอิรวดี” ตามแหล่งที่พบ ไม่มีบันทึกระบุว่าพบปีอะไร แต่การเริ่มศึกษาโลมาอิรวดีอย่างจริงในแหล่งน้ำดังกล่าวเริ่มต้นเมื่อปี 2545 นี่เอง โดยพบว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดนี้กระจายตัวในเขตแม่น้ำและทะเลในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บริเวณที่พบโลมาอิรวดีชุกชุมที่สุด คือทะเลสาบจิลิกา รัฐโอฑิศา ทางตะวันออกของอินเดีย และทะเลสาบสงขลา ทางภาคใต้ของไทย

สองโลเคชั่นนี้ดูเหมือนไม่ใกล้กันเลย แล้วน้องเค้าเข้ามายังไง? มาตั้งแต่เมื่อไหร่?

โลมาอิรวดีในทะเลสาบสงขลา

ราตรี สุขสุวรรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทย บอกว่า แต่เดิมโลมาอิรวดีอยู่ในทะเล แพร่กระจายอยู่ฝั่งอ่าวไทย แต่มีฝูงหนึ่งเข้ามาอยู่ในทะเลสาบสงขลาเป็นระยะเวลากว่า 100 ปีมาแล้ว กลายเป็นโลมาในน้ำจืด อาศัยบริเวณทะเลสาบสงขลาตอนบน ซึ่งช่วงฤดูฝนน้ำค่อนข้างจืดสนิท และช่วงน้ำทะเลหนุนมีความเค็มไม่มาก นับเป็นแหล่งโลมาน้ำจืด 1 ใน 5 แห่งของทั่วโลก ได้แก่ อินเดีย อินโดนีเซีย เมียนมา กัมพูชา และไทยตอนล่าง (สถานีวิทยุมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่, 5 พฤษภาคม 2565)

นอกจากทะเลสาบสงขลา ยังมีโลมาอิรวดีบางกลุ่มเข้ามาอาศัยอยู่ในแม่น้ำสายใหญ่ ๆ หรือแหล่งน้ำที่มีความลึก เช่น แม่น้ำโขง โตนเลสาบ หรือทะเลสาบน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครอบคลุมพื้นที่ 5 จังหวัดของกัมพูชา (กำปงธม กำปงชนัง โพธิสัตว์ พระตะบอง และเสียมราฐ)

โลมาอิรวดีในปากแม่น้ำบางปะกง

โลมาอิรวดี (Irrawaddy dolphin, Ayeyarwaddy dolphin ชื่อวิทยาศาสตร์: Orcaella brevirostris) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อาศัยอยู่ได้ทั้งในน้ำเค็มและน้ำจืด ใช้ชีวิตอยู่ทั่วไปตามแนวชายฝั่งทะเล จากเอเชียใต้จรดตะวันออกเฉียงใต้ มีชื่อท้องถิ่นแตกต่างกัน บ้านเราเรียกตามลักษณะหัวที่กลม ๆ (เขาว่าคล้ายบาตรพระ) ว่า “โลมาหัวบาตร” คนใต้เรียก “โลมาหัวหมอน” มีลำตัวสีเทาเข้ม ตาขนาดเล็ก ปากอยู่ด้านล่าง ครีบข้างลำตัวแผ่กว้างเป็นรูปสามเหลี่ยม ครีบบนมีขนาดเล็กมาก รูปทรงแบนและบางคล้ายเคียว ลำตัวยาวประมาณ 180–275 เซนติเมตร น้ำหนักตัวประมาณ 98-159 กิโลกรัม อายุขัยประมาณ 30-50 ปี

ในเมื่อทะเลสาบสงขลากับอ่าวไทยก็คือทะเลเดียวกัน ไม่แปลกเลยที่จะพบโลมาหัวบาตรบริเวณปากแม่น้ำบางปะกง

ทะเลและน้ำกร่อยในบริเวณปากแม่น้ำบางปะกงเป็นเขตรอยต่อเศรษฐกิจการประมงของคนชลบุรีและฉะเชิงเทรา ใต้น้ำลึกระดับ 3-10 เมตร เป็นถิ่นอาศัยของโลมาอิรวดี สัตว์ป่าคุ้มครองอันดับที่ 138 และสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์ตามบัญชีประเภทที่ 1 ของไซเตส หรืออนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศ ชนิดพันธุ์สัตวป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (CITES: Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora)

ต้นปีจนถึงฤดูร้อน บริเวณปากแม่น้ำบางปะกงเป็นช่วงที่คลื่นลมสงบ นักท่องเที่ยวมักจะมาลงเรือไปดูโลมาอิรวดี ซึ่งบริเวณนี้พบประมาณ 40-50 ตัว จากจำนวนทั้งหมด 120 ตัวที่พบในอ่าวไทยตอนใน ชาวประมงรุ่นใหญ่บางคนยังทำหน้าที่เป็น wrangler (ใช้เรียกมัคคุเทศก์ที่พาชมโลมา ที่ “รู้ทาง” เช่น ทางน้ำ ทางหากิน ทางหลบหลีกอันตราย เป็นต้น) พานักท่องเที่ยวชมโลมาอิรวดีในน่านน้ำแห่งนี้มาตั้งแต่ปี 2545 จนถึงทุกวันนี้

เสียแต่ว่าทุกวันนี้ โลมาอิรวดีแถบนี้หาชมยากเข้าไปทุกที

ด้วยความยาวของลำตัวที่ไม่ถึง 3 เมตร กับการโผล่ขึ้นมาหายใจเหนือน้ำแค่ไม่กี่วินาที การตามหาโลมาอิรวดีก็ไม่ง่ายอยู่แล้ว wrangler ต้องอาศัยประสบการณ์เพื่อกะเวลาว่าตอนไหนที่ฝูงโลมาอิรวดีจะออกมากินอาหาร ซึ่งได้แก่พวกปลาดุกทะเล กุ้ง และสัตว์น้ำขนาดเล็ก ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นช่วงเช้า 8 โมงถึง 11 โมง

โลมาอิรวดี ณ ปากแม่น้ำบางปะกง
โลมาอิรวดี ณ ปากแม่น้ำบางปะกง

ภัยคุกคาม

ทีมวิจัยจากกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ใช้เวลาถึง 5 ปี ในการเก็บรวบรวมข้อมูลโลมาอิรวดีในอ่าวไทยตอนใน จากการนับด้วยสายตาสามารถสรุปได้ว่ามีประมาณ 40-50 ตัว และไม่มีแนวโน้มของการเพิ่มจำนวน

การหาสาเหตุโลมาอิรวดีไม่เพิ่มจำนวนยังไม่แน่ชัด ชลาทิพ จันทร์ชมภู ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนบนฝั่งตะวันออก บอกว่า มีเพียงร้อยละ 30 เท่านั้นที่พอจะหาสาเหตุการตายของโลมาอิราวดีแถบนี้ โดยอาศัยข้อมูลเทียบเคียงจากการพบซาก พบว่าครึ่งหนึ่งในจำนวนนี้ตายเพราะโรค เช่น มีพยาธิ ป่วยจนผอมกินอาหารไม่ได้ อีกส่วนหนึ่งมาจากการติดเครื่องมือประมงโดยบังเอิญ ส่วนอีกร้อยละ 70 ซากเน่าจนไม่สามารถหาสาเหตุได้ (ข่าวค่ำมิติใหม่ไทยพีบีเอส, 18 ธันวาคม 2565)

ทีมสำรวจยังทำการตรวจคุณภาพน้ำช่วงปากน้ำคลองด่าน จังหวัดสมุทรปราการ พบปริมาณออกซิเจนในน้ำเพียง 2 มิลลิกรัมต่อลิตร จากค่ามาตรฐานที่สิ่งมีชีวิตจะอาศัยอยู่ได้ จำเป็นต้องมีมากกว่า 5 มิลลิกรัมต่อลิตร จึงสันนิษฐานว่าการที่โลมาอิรวดีไม่เพิ่มจำนวน น่าจะมาจากการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศ รวมถึงปัญหามลพิษทางน้ำ จากขยะและน้ำเสีย ซึ่งเป็นภัยหลักที่คุกคามโลมาอิรวดี

สอดคล้องกับการประเมินของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ที่ระบุว่าบริเวณชายฝั่งตอนบน หรืออ่าวรูปตัว ก หรืออ่าวไทยตอนในที่ติดกับปากแม่น้ำบางกะปง มีโลมาอิราวดีเหลืออยู่ประมาณ 120 ตัว และภัยคุกคามถิ่นอาศัยของโลมาอิรวดีในปากแม่น้ำบางปะกง คือมลพิษในน้ำ ซึ่งทำให้โลมาอิรวดีอาจย้ายถิ่นอาศัย ชาวประมงในละแวกนั้นก็บอกว่า ไม่ใช่ว่าจะพบซากของโลมาอิรวดีกันบ่อย ๆ นาน ๆ จะเห็นทีหนึ่ง จึงไม่ใช่ว่าจำนวนโลมาอิรวดีลดจำนวนลงเพราะตาย แต่เพราะย้ายถิ่นมากว่า

กิจกรรมแชร์โลมา ที่ อยู๋ดี กินดี ชวนเพื่อนๆ ไปสำรวจและสังเกตุพฤติกรรมโลมากันบริเวณปากแม่น้ำบางปะกง
กิจกรรมแชร์โลมา ที่ อยู๋ดี กินดี ชวนเพื่อนๆ ไปสำรวจและสังเกตุพฤติกรรมโลมากันบริเวณปากแม่น้ำบางปะกง

การออกทะเลพาชมโลมาอิรวดีเคยเป็นงานที่มีอย่างต่อเนื่องในฤดูที่คลื่นลมสงบ แต่ทุกวันนี้การตามหาโลมายากขึ้น wrangler ก็ต้องปรับตัว บริการพานักท่องเที่ยวออกไปทำพิธีลอยอังคารบริเวณปากแม่น้ำ เป็นงานหนึ่งที่พอสร้างรายได้

ถ้าไม่เร่งแก้ปัญหามลพิษจากน้ำเสียอย่างจริงจัง และเรื่องขยะจากในเมืองที่ไหลมารวมตรงปากแม่น้ำบางปะกง เราจะสูญเสียโลมาอิรวดีซึ่งเป็นเสน่ห์ของอ่าวรูปตัว ก. ไปอย่างถาวร

TAGS #โลมาอิรวดี #โลมาหัวบาตร #โลมาหัวหมอน #อยู่ดีกินดี #วิถีริมแม่น้ำ #บางปะกง #หาอยู่หากิน #พายเรือทวนน้ำ

ที่มาข้อมูล:

บทความโดย : อยู่ดี กินดี

Share:

น้ำปลาหวานสูตรอาม่า เครื่องจิ้มรสมือแม่จากชลบุรี ใช้หัวน้ำปลาหมักเอง กุ้งแห้งบางปะกง หวาน
ท่าข้าม จุดหมายเชิงนิเวศปากแม่น้ำบางปะกง ชุมชนอาหารพื้นบ้านที่ไม่ควรพลาด ลิ้มรสปลากดหัวอ่อนหมกกะปิ แกงส้มหน่อไม้ดอง
โลมาอิรวดีเป็นสัตว์ทะเลหายากที่อาศัยในแม่น้ำบางปะกง กำลังเผชิญภัยคุกคามจากการทำประมงและการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม เรียนรู้การอนุรักษ์และบทบาทของโลมาในระบบนิเวศปากแม่น้ำ
ปากแม่น้ำบางปะกง แหล่งน้ำกร่อยที่เป็นถิ่นอาศัยของโลมาอิรวดี โลมาหลังโหนก โลมาหัวบาตรหลังเรียบ และวาฬบรูด้า
คนบางปะกงใช้ความรู้จากความเข้าใจธรรมชาติเพื่อจัดการชีวิตทั้งเรื่องการอยู่การหากิน โดยไม่ขืนครรลองธรรมชาติ ภูมิปัญญานี้เรียกว่า “นาขาวัง”

ส่งข้อความถึงเรา

Tags
Bombaceaceae Durio zibethinus กลุ่มครัสเตเชียน (Crustacea) กะปิสองคลอง กะปิเคย กินตามน้ำ ของดีบางปะกง ขอฝน ต้นจาก ที่นี่บ้านเรา ทุเรียนปราจีนแท้ ธรรมชาติ นายก อบต.คลองตะเกรา นายบุญนาค พรพจน์ธนมาศ น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า บั้งไฟ บั้งไฟฉะเชิงเทรา บั้งไฟท่าตะเกียบ บั้งไฟบ้านหนองคอก บางปะกง ป่าจาก ป่าชายเลน ผลไม้ ผีแถน พายเรือทวนน้ำ มะระขี้นก ยั่งยืน ลาลูแบร์ วงศ์นุ่น-ทุเรียน วิถีริมแม่น้ำ ศักดิ์ปากหมา สยาม หลวงพ่อโสธร หาอยู่หากิน อยุธยา อยู่ดีกินดี อยู่ดีกินดีที่แม่น้ำบางปะกง เคย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แชร์โลมา แม่น้ำ แม่น้ำบางปะกง โลมาหัวบาตร โลมาอิรวดี ใบจาก
โรงเจแห่งแรกในฉะเชิงเทรา สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2440 สมัยรัชกาลที่ 5 ตั้งอยู่ใน ตำบลเทพราช อำเภอบ้านโพธิ์ เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
วัดพิมพาวาสจะมีการประกอบพิธี “ตักบาตรน้ำผึ้ง”ทุกวันเพ็ญเดือนสิบ ประเพณีดั้งเดิมของชาวมอญที่ทั่วประเทศเหลือสืบทอดเพียงไม่กี่แห่ง
ผีแถน เทพเจ้าผู้ควบคุมฟ้าฝนของคนอีสาน มีความสำคัญในพิธีกรรมต่างๆ เช่น บุญบั้งไฟ ซึ่งจัดขึ้นเพื่อขอฝนและความอุดมสมบูรณ์ในฤดูทำนา
งานบุญบั้งไฟฉะเชิงเทรา หรือ บั้งไฟท่าตะเกียบ จัดขึ้นที่ อ.ท่าตะเกียบ จ.ฉะเชิงเทรา เป็นงานประเพณีที่สืบทอดจากชาวอีสาน มีขบวนแห่ การแสดง และการจุดบั้งไฟที่น่าตื่นตาตื่นใจ
อ้อยเป็นพืชเศรษฐกิจลำดับสี่ของโลก รองจากข้าวสาลี ข้าวโพด และข้าว พืชตระกูลหญ้าที่ให้ความหวานนี้เข้ามาในประเทศไทยเมื่อ 400 ปีก่อน สันนิษฐานว่าพ่อค้าชาวอินเดียนำเข้ามา แม้ถิ่นกำเนิดของอ้อยจะอยู่ในหมู่เกาะแถบมหาสมุทรแปซิฟิก แต่เส้นทางการค้าเมื่อกว่าพันปีก่อนก็ทำให้อ้อยขยายไปทั่วเอเชีย
สวนผลไม้ที่ราชทูตฝรั่งเศสมองเห็นจากริมฝั่งแม่น้ำเมื่อกว่า 300 ปีนั้นเป็น “สวนยกร่อง”