กินดีที่ “ท่าข้าม”

ท่าข้าม จุดหมายเชิงนิเวศปากแม่น้ำบางปะกง ชุมชนอาหารพื้นบ้านที่ไม่ควรพลาด ลิ้มรสปลากดหัวอ่อนหมกกะปิ แกงส้มหน่อไม้ดอง และอีกมากมาย พร้อมสัมผัสธรรมชาติริมแม่น้ำ
กินดีที่ท่าข้าม

ท่าข้าม” จุดท่องเที่ยวเชิงนิเวศปากแม่น้ำบางปะกงที่สำคัญ ตรงบริเวณที่เรียกว่าเกาะธรรมชาติท่าข้าม หรือ “เกาะนก” เป็นจุดดูนก ชมโลมา และป่าชายเลนที่มีทางเดินศึกษาธรรมชาติยาวกว่า 1,500 เมตร มีหอชมวิวที่มองเห็นโค้งตวัดแม่น้ำบางปะกงก่อนออกสู่อ่าวไทย

ท่าข้ามเป็นตำบลหนึ่งในอำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา ชุมชนท่าข้ามเป็นหมู่บ้านริมปากแม่น้ำ สำรับอาหารดั้งเดิมจึงไม่พ้นเรื่องปลา และส่วนใหญ่เป็นปลาน้ำจืดจนถึงน้ำกร่อยที่รสชาติเหนือชั้นกว่าปลาน้ำจืดทั่วไป สมัยก่อนปลาที่ชุกชุมชนิดถือเบ็ดออกไปแล้วมักไม่พลาดคือปลากดหัวอ่อนปากแม่น้ำบางปะกง* จนแม้ทุกวันนี้มีปลาที่ซื้อหาได้ง่ายจากตลาด แต่คนท่าข้ามก็ยังชอบออกเรือไปตกปลา และไม่วายที่จะได้ปลากดหัวอ่อนติดมือมาเป็นกับข้าว เพียงแต่การปรุงอาจเปลี่ยนไปตามกาลสมัย

ปลากดหัวอ่อน
ปลากดหัวอ่อน

ที่ชุมชนบ้านล่าง หมู่ที่ 2 ตำบลท่าข้าม ยังใช้ปลากดหัวอ่อนทำกับข้าวแบบดั้งเดิม สามเมนูที่นักเดินทางไปเที่ยวท่าข้ามไม่ควรพลาดลิ้มรส ไม่งั้นเรียกว่ามาไม่ถึงท่าข้าม

รัชดาวรรณ ธรรมวิญญา หรือ “ผู้ใหญ่เอ”
รัชดาวรรณ ธรรมวิญญา หรือ “ผู้ใหญ่เอ” ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 2 ต.ท่าข้าม อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา

รัชดาวรรณ ธรรมวิญญา หรือ “ผู้ใหญ่เอ” ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 2 บอกว่า ปลากดมีหลายชนิด ทั้งปลากดแดง ปลากดขาว ปลากดหมู แต่คนท่าข้ามนิยมกินปลากดหัวอ่อน เพราะเนื้อนุ่ม คาวน้อย และมีจำนวนมากในปากแม่น้ำบางปะกง “สมัยก่อน พอได้ยินแม่บอกว่า กับข้าววันนี้เป็นปลากด เด็กร้องยี้เลยค่ะ…เบื่อ!”

อาหารที่เบ้หน้าสมัยเด็ก กลายเป็นกับข้าวติดครัวในวันนี้ หลังจากเบื่อของซ้ำ ๆ ในตลาด

ปลากดหัวอ่อนหมกกะปิ
ปลากดหัวอ่อนหมกกะปิ

ลากดหัวอ่อนหมกกะปิ เป็นเมนูที่ง่าย ไม่ต้องใช้เครื่องปรุงเยอะ อร่อยแบบเดือดร้อนข้าว

“ต้องแล่เนื้อแล้วเอาก้างออก หั่นท่อนไม่ได้นะคะ เพราะต้องนำมาคลุกกะปิให้เข้าเนื้อ บ้านที่ทำเมนูนี้มักจะทำกะปิกินเองด้วย ไม่ต้องปรุงรสอย่างอื่นเลย หมักทิ้งไว้หนึ่งชั่วโมง แล้วก็นำมาทอดไฟอ่อน ๆ” อร่อยหรือไม่อร่อยอยู่ที่กะปิ ถ้ากะปิดี เนื้อปลาจะหอม ไม่เค็มมาก

มีทอดแล้วก็ต้องมีผัด

ปลากดหัวอ่อนผัดพริกแกง
ปลากดหัวอ่อนผัดพริกแกง

ปลากดหัวอ่อนผัดพริกแกง เมนูนี้หั่นปลาเป็นท่อน แต่ไม่ต้องทอดปลา เมื่อคั่วพริกแกงได้ที่ ก็นำปลาลงผัดเลย ปิดท้ายด้วยใบโหระพา ใครจะใส่ใบมะกรูดตามความเคยชินก็ได้ แต่คนท่าข้ามเขาไม่ใส่กัน

ที่ใส่ใบมะกรูดกลับเป็นแกงส้ม

แกงส้มปลากดหัวอ่อนกับหน่อไม้ดอง
แกงส้มปลากดหัวอ่อนกับหน่อไม้ดอง

แกงส้มปลากดหัวอ่อนกับหน่อไม้ดอง (สามารถใช้ผักดองชนิดอื่นได้) ก็หั่นปลาเป็นท่อนอีกเหมือนกัน แต่ถ้าได้ปลาตัวเล็กก็เอาแต่หัวออก แล้วบั้งใส่ไปทั้งตัวเลย เพราะเนื้อปลาเละง่าย เครื่องแกงก็มีแค่พริกแดง เกลือ หอมแดง กะปิ ไม่ใส่กระชาย พอใส่หน่อไม้ดองปล่อยเดือดสักพักแล้ว ปิดท้ายด้วยใบมะกรูด เพื่อดับคาว รสชาติเปรี้ยวนำ

เป็นเพียง 3 เมนูเรียกน้ำลายที่ อยู่ดี กินดี เอามาเล่า

เมนูหลากหลาย ในบางปะกง
เมนูหลากหลาย ในบางปะกง

แต่เสน่ห์เมนูอาหารของท่าข้ามยังมีอีกมากมาย เพื่อนที่สนใจอยากไปลิ้มรสความอร่อยของเมนูอาหารที่มีอัตลักษณ์ หากินยากขึ้น ปรุงจากวัตถุดิบสดใหม่ หรือออกไปสัมผัสธรรมชาติ นั่งดูนกริมปากแม่น้ำ กิจกรรมเรียนรู้และปลูกป่าชายเลนกับชุมชนเล็กๆ ที่เข้มแข็งแต่อ่อนน้อมน่ารักใกล้กรุงเทพฯ ก็สามารถติดต่อไปที่ผู้ใหญ่เอ หมู่ 2 ตำบลท่าข้าม อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา โทร.062-6761621 กันได้เลย

ขอให้ทุกคน อยู่ดี กินดี ครับ

*ปลากดหัวอ่อน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Osteogeneiosus militaris) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งที่อยู่ในวงศ์ Ariidae. พบได้ในแม่น้ำลำคลองและแหล่งน้ำจืดต่าง ๆ ทั่วประเทศไทย

TAGS #เมนูท่าข้าม #ปลากดหัวอ่อนหมกกะปิ #แกงส้มปลาหัวอ่อนหน่อไม้ดอง #ปลากดหัวอ่อนผัดพริกแกง #กินดีที่ท่าข้าม #อยู่ดีกินดี #วิถีริมแม่น้ำ #บางปะกง #หาอยู่หากิน #กินตามน้ำ #อยู่ดีกินดีที่แม่น้ำบางปะกง

ภาพจาก https://fishbase.se/Fieldguide/FieldGuideSummary.php?genusname=Osteogeneiosus&speciesname=militaris&c_code=116

Share:

น้ำปลาหวานสูตรอาม่า เครื่องจิ้มรสมือแม่จากชลบุรี ใช้หัวน้ำปลาหมักเอง กุ้งแห้งบางปะกง หวาน
โลมาอิรวดีเป็นสัตว์ทะเลหายากที่อาศัยในแม่น้ำบางปะกง กำลังเผชิญภัยคุกคามจากการทำประมงและการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม เรียนรู้การอนุรักษ์และบทบาทของโลมาในระบบนิเวศปากแม่น้ำ
ปากแม่น้ำบางปะกง แหล่งน้ำกร่อยที่เป็นถิ่นอาศัยของโลมาอิรวดี โลมาหลังโหนก โลมาหัวบาตรหลังเรียบ และวาฬบรูด้า
คนบางปะกงใช้ความรู้จากความเข้าใจธรรมชาติเพื่อจัดการชีวิตทั้งเรื่องการอยู่การหากิน โดยไม่ขืนครรลองธรรมชาติ ภูมิปัญญานี้เรียกว่า “นาขาวัง”
“เคยแห้ง” ก็ทำได้แบบนั้น เคยตากแห้งกลิ่นหอมนุ่ม ไม่หอมแรงเหมือนกุ้งแห้ง เคยแทนที่กุ้งทุกอย่างไม่ได้ก็จริง

ส่งข้อความถึงเรา

Tags
Bombaceaceae Durio zibethinus กลุ่มครัสเตเชียน (Crustacea) กะปิสองคลอง กะปิเคย กินตามน้ำ ของดีบางปะกง ขอฝน ต้นจาก ที่นี่บ้านเรา ทุเรียนปราจีนแท้ ธรรมชาติ นายก อบต.คลองตะเกรา นายบุญนาค พรพจน์ธนมาศ น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า บั้งไฟ บั้งไฟฉะเชิงเทรา บั้งไฟท่าตะเกียบ บั้งไฟบ้านหนองคอก บางปะกง ป่าจาก ป่าชายเลน ผลไม้ ผีแถน พายเรือทวนน้ำ มะระขี้นก ยั่งยืน ลาลูแบร์ วงศ์นุ่น-ทุเรียน วิถีริมแม่น้ำ ศักดิ์ปากหมา สยาม หลวงพ่อโสธร หาอยู่หากิน อยุธยา อยู่ดีกินดี อยู่ดีกินดีที่แม่น้ำบางปะกง เคย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แชร์โลมา แม่น้ำ แม่น้ำบางปะกง โลมาหัวบาตร โลมาอิรวดี ใบจาก
น้ำปลาหวานสูตรอาม่า เครื่องจิ้มรสมือแม่จากชลบุรี ใช้หัวน้ำปลาหมักเอง กุ้งแห้งบางปะกง หวาน เค็ม เผ็ด ครบรส ไม่ใส่ผงชูรส ไม่ใส่วัตถุกันเสีย
โลมาอิรวดีเป็นสัตว์ทะเลหายากที่อาศัยในแม่น้ำบางปะกง กำลังเผชิญภัยคุกคามจากการทำประมงและการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม เรียนรู้การอนุรักษ์และบทบาทของโลมาในระบบนิเวศปากแม่น้ำ
ปากแม่น้ำบางปะกง แหล่งน้ำกร่อยที่เป็นถิ่นอาศัยของโลมาอิรวดี โลมาหลังโหนก โลมาหัวบาตรหลังเรียบ และวาฬบรูด้า แต่จำนวนโลมาอิรวดีลดลงเหลือเพียง 22 ตัว จากภัยคุกคามทางสิ่งแวดล้อม การฟื้นฟูป่าชายเลน
คนบางปะกงใช้ความรู้จากความเข้าใจธรรมชาติเพื่อจัดการชีวิตทั้งเรื่องการอยู่การหากิน โดยไม่ขืนครรลองธรรมชาติ ภูมิปัญญานี้เรียกว่า “นาขาวัง”
“เคยแห้ง” ก็ทำได้แบบนั้น เคยตากแห้งกลิ่นหอมนุ่ม ไม่หอมแรงเหมือนกุ้งแห้ง เคยแทนที่กุ้งทุกอย่างไม่ได้ก็จริง แต่ข้อดีคือเคยราคาย่อมเยา และให้คุณค่าด้านโปรตีน แคลเซียม โอเมก้า ไม่แพ้กุ้ง
คำว่า “สลิด” เพี้ยนจากคำว่า “จริต” ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแนะนำให้ราชบริพารเรียกปลาสลิดว่า “ปลาใบไม้” เพื่อความสุภาพ เพราะทรงเห็นว่ามีรูปร่างเหมือนใบไม้