แชร์โลมา ตอนที่2

โลมาอิรวดีเป็นสัตว์ทะเลหายากที่อาศัยในแม่น้ำบางปะกง กำลังเผชิญภัยคุกคามจากการทำประมงและการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม เรียนรู้การอนุรักษ์และบทบาทของโลมาในระบบนิเวศปากแม่น้ำ
โลมาอิรวดี ณ ปากแม่น้ำบางปะกง แหล่งนอาหารที่ยังคงความอุดมสมบูรณ์

โลมาอิรวดีหายใจทางปอด ดำน้ำอึดได้นาน 4-5 นาที แล้วโผล่ขึ้นมาหายใจ แต่ไม่ได้แปลว่าเมื่อโผล่ขึ้นมาหายใจแล้วจะอยู่ที่จุดเดิม เพราะโลมาว่ายน้ำเร็ว ตอนดำน้ำอาจตีห่างออกไปหลายโยชน์ คนที่ไปล่องเรือชมโลมาจึงต้องใจเย็น ช่างสังเกต ไม่เอะอะมะเทิ่ง 

โลมาอิรวดี ณ ปากแม่น้ำบางปะกง แหล่งน้ำกร่อยแห่งความอุดมสมบูรณ์
โลมาอิรวดี ณ ปากแม่น้ำบางปะกง แหล่งนอาหารที่ยังคงความอุดมสมบูรณ์

โลมาเป็นสัตว์เครียดง่าย ป่วยง่าย ตกใจง่าย โลมาติดอวนตายก็เพราะตกใจ ดิ้นจนอวนรัดตัวจนไม่สามารถโผล่ขึ้นมาหายใจได้ อาหารน้อยเกินไปก็ผอมและป่วยตาย ความที่เป็นสัตว์เซนซิทีฟทำให้ประชากรโลมาอิรวดีบริเวณปากน้ำบางปะกงลดลงทุกปี ประกอบกับการตกลูกน้อยด้วย โลมาตั้งท้องนาน 14 เดือนและออกลูกครั้งหนึ่งแค่ตัวเดียว ช่วงชีวิตของโลมาตัวหนึ่งที่จะอยู่รอดจนถึงอายุขัยในยุคนี้จึงยากมาก ทั้งเรื่องคุณภาพน้ำ การคุกคามถิ่นที่อยู่ และการหดตัวของพื้นที่แหล่งอาหาร

โลมามีอายุขัยประมาณ 30 ปี ตัวโตเต็มวัยความยาวประมาณ 2.75 – 3 เมตร (ใช้วิธีเทียบขนาดโลมากับขนาดเรือ) ส่วนโลมาลูกแรกเกิดความยาวประมาณ 80 เซนติเมตร

ในการสำรวจโลมาอิรวดีแต่ละปีจะใช้เครื่องมือหลายอย่าง ทีมสำรวจจะเดินทางไปกับเรือประมงพื้นถิ่นสองเดือนครั้ง แล่นออกไปไกลจากฝั่งประมาณ 15-20 กิโลเมตร การสำรวจครั้งหนึ่งกินเวลานานเป็นสัปดาห์ โดยวิ่งสำรวจเป็นเส้นซิกแซกไลน์ ใช้ UAV หรือโดรนในการสำรวจภาคอากาศ และระบุอัตลักษณ์ด้วย photo identity (ภาพถ่าย) โดยการสังเกตครีบหลัง (คงคล้าย ๆ ลายนิ้วมือของคน) แต่ละตัวมีเครื่องหมายไม่เหมือนกัน บางตัวครีบบิดงอ บางตัวครีบแหว่ง ฯลฯ ด้วยวิธีสังเกตเครื่องหมายดังกล่าวทีมสำรวจจึงรู้ว่าเป็นประชากรโลมากลุ่มใด

IUCN หรือ สหภาพสากลว่าด้วยการอนุรักษ์ จัดโลมาอิรวดีในหมวด “Red list” คือใกล้สูญพันธุ์ เพราะจำนวนประชากรน้อยลงทุกปี ๆ ประเทศไทยเพียงจัดไว้ในกลุ่ม “สัตว์หายาก” แม้ผลการสำรวจจะชี้ว่าภัยคุกคามรุนแรงขึ้นทุกปี การขยับตัวให้โลมาอิรวดีเป็นสปีชี่ใกล้สูญพันธุ์มีผลต่อกฎหมายที่โยงกับการทำประมงพาณิชย์ ซึ่งหน่วยงานอนุรักษ์อย่างกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งไม่มีกลไกในการจัดการ แต่ความพยายามผลักดันนี้ดำเนินการมาตลอด เพราะ “หายาก” กับ “ใกล้สูญพันธุ์” มีความเข้มข้นของกฎหมายในการจัดการต่างกัน 

นี่อาจเป็นแรงผลักที่มีเป้าหมายร่วมกับความพยายามให้บางปะกงเป็นพื้นที่แรมซาร์ไซต์ เพื่อให้ความหลากหลายของชีวิตในปากแม่น้ำบางปะกง รวมทั้งประมงท้องถิ่นได้คงอยู่ร่วมกันได้

TAGS #โลมาอิรวดี #โลมาหัวบาตร #โลมาหัวหมอน #แชร์โลมา #โลมาบางปะกง #อยู่ดีกินดี #วิถีริมแม่น้ำ #บางปะกง #หาอยู่หากิน #อยู่ดีกินดีที่แม่น้ำบางปะกง #น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า 

แหล่งอ้างอิง

คุณพัชราภรณ์ เยาวสุต กลุ่มงานสัตว์ทะเลหายาก ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนบน (สมุทรสาคร) 

https://www.dmcr.go.th/detailAll/72551/nws/260

https://www.dmcr.go.th/aboutus/wk

Share:

น้ำปลาหวานสูตรอาม่า เครื่องจิ้มรสมือแม่จากชลบุรี ใช้หัวน้ำปลาหมักเอง กุ้งแห้งบางปะกง หวาน
ท่าข้าม จุดหมายเชิงนิเวศปากแม่น้ำบางปะกง ชุมชนอาหารพื้นบ้านที่ไม่ควรพลาด ลิ้มรสปลากดหัวอ่อนหมกกะปิ แกงส้มหน่อไม้ดอง
ปากแม่น้ำบางปะกง แหล่งน้ำกร่อยที่เป็นถิ่นอาศัยของโลมาอิรวดี โลมาหลังโหนก โลมาหัวบาตรหลังเรียบ และวาฬบรูด้า
คนบางปะกงใช้ความรู้จากความเข้าใจธรรมชาติเพื่อจัดการชีวิตทั้งเรื่องการอยู่การหากิน โดยไม่ขืนครรลองธรรมชาติ ภูมิปัญญานี้เรียกว่า “นาขาวัง”
“เคยแห้ง” ก็ทำได้แบบนั้น เคยตากแห้งกลิ่นหอมนุ่ม ไม่หอมแรงเหมือนกุ้งแห้ง เคยแทนที่กุ้งทุกอย่างไม่ได้ก็จริง

ส่งข้อความถึงเรา

Tags
Bombaceaceae Durio zibethinus กลุ่มครัสเตเชียน (Crustacea) กะปิสองคลอง กะปิเคย กินตามน้ำ ของดีบางปะกง ขอฝน ต้นจาก ที่นี่บ้านเรา ทุเรียนปราจีนแท้ ธรรมชาติ นายก อบต.คลองตะเกรา นายบุญนาค พรพจน์ธนมาศ น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า บั้งไฟ บั้งไฟฉะเชิงเทรา บั้งไฟท่าตะเกียบ บั้งไฟบ้านหนองคอก บางปะกง ป่าจาก ป่าชายเลน ผลไม้ ผีแถน พายเรือทวนน้ำ มะระขี้นก ยั่งยืน ลาลูแบร์ วงศ์นุ่น-ทุเรียน วิถีริมแม่น้ำ ศักดิ์ปากหมา สยาม หลวงพ่อโสธร หาอยู่หากิน อยุธยา อยู่ดีกินดี อยู่ดีกินดีที่แม่น้ำบางปะกง เคย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แชร์โลมา แม่น้ำ แม่น้ำบางปะกง โลมาหัวบาตร โลมาอิรวดี ใบจาก
น้ำปลาหวานสูตรอาม่า เครื่องจิ้มรสมือแม่จากชลบุรี ใช้หัวน้ำปลาหมักเอง กุ้งแห้งบางปะกง หวาน เค็ม เผ็ด ครบรส ไม่ใส่ผงชูรส ไม่ใส่วัตถุกันเสีย
ท่าข้าม จุดหมายเชิงนิเวศปากแม่น้ำบางปะกง ชุมชนอาหารพื้นบ้านที่ไม่ควรพลาด ลิ้มรสปลากดหัวอ่อนหมกกะปิ แกงส้มหน่อไม้ดอง และอีกมากมาย พร้อมสัมผัสธรรมชาติริมแม่น้ำ
ปากแม่น้ำบางปะกง แหล่งน้ำกร่อยที่เป็นถิ่นอาศัยของโลมาอิรวดี โลมาหลังโหนก โลมาหัวบาตรหลังเรียบ และวาฬบรูด้า แต่จำนวนโลมาอิรวดีลดลงเหลือเพียง 22 ตัว จากภัยคุกคามทางสิ่งแวดล้อม การฟื้นฟูป่าชายเลน
คนบางปะกงใช้ความรู้จากความเข้าใจธรรมชาติเพื่อจัดการชีวิตทั้งเรื่องการอยู่การหากิน โดยไม่ขืนครรลองธรรมชาติ ภูมิปัญญานี้เรียกว่า “นาขาวัง”
“เคยแห้ง” ก็ทำได้แบบนั้น เคยตากแห้งกลิ่นหอมนุ่ม ไม่หอมแรงเหมือนกุ้งแห้ง เคยแทนที่กุ้งทุกอย่างไม่ได้ก็จริง แต่ข้อดีคือเคยราคาย่อมเยา และให้คุณค่าด้านโปรตีน แคลเซียม โอเมก้า ไม่แพ้กุ้ง
คำว่า “สลิด” เพี้ยนจากคำว่า “จริต” ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแนะนำให้ราชบริพารเรียกปลาสลิดว่า “ปลาใบไม้” เพื่อความสุภาพ เพราะทรงเห็นว่ามีรูปร่างเหมือนใบไม้