เส้นทางสายหวาน

อ้อยเป็นพืชเศรษฐกิจลำดับสี่ของโลก รองจากข้าวสาลี  ข้าวโพด และข้าว พืชตระกูลหญ้าที่ให้ความหวานนี้เข้ามาในประเทศไทยเมื่อ 400 ปีก่อน สันนิษฐานว่าพ่อค้าชาวอินเดียนำเข้ามา แม้ถิ่นกำเนิดของอ้อยจะอยู่ในหมู่เกาะแถบมหาสมุทรแปซิฟิก แต่เส้นทางการค้าเมื่อกว่าพันปีก่อนก็ทำให้อ้อยขยายไปทั่วเอเชีย โดยเฉพาะอินเดีย แม้ทุกวันนี้อินเดียก็เป็นผู้ผลิตอ้อยรายใหญ่ลำดับต้นของโลก
ชาวจีนทำไร่อ้อยริมแม่น้ำบางปะกง เนื่องจากความอุดมสมบูรณ์ของดิน และความสะดวกในการขนส่งอ้อยทางน้ำ

อ้อยเป็นพืชเศรษฐกิจลำดับสี่ของโลก รองจากข้าวสาลี  ข้าวโพด และข้าว พืชตระกูลหญ้าที่ให้ความหวานนี้เข้ามาในประเทศไทยเมื่อ 400 ปีก่อน สันนิษฐานว่าพ่อค้าชาวอินเดียนำเข้ามา แม้ถิ่นกำเนิดของอ้อยจะอยู่ในหมู่เกาะแถบมหาสมุทรแปซิฟิก แต่เส้นทางการค้าเมื่อกว่าพันปีก่อนก็ทำให้อ้อยขยายไปทั่วเอเชีย โดยเฉพาะอินเดีย แม้ทุกวันนี้อินเดียก็เป็นผู้ผลิตอ้อยรายใหญ่ลำดับต้นของโลก

แต่ภูมิปัญญาการหีบอ้อยเพื่อทำเป็นน้ำตาลมาจากคนจีน กุลีชาวจีนที่เข้ามาตั้งรกรากในเมืองฉะเชิงเทราและปากแม่น้ำบางปะกงเป็นผู้ริเริ่มการทำสวนอ้อย และสร้างโรงหีบน้ำตาลทราย เกิดเป็น “อุตสาหกรรม” น้ำตาลทรายแห่งแรกของประเทศที่สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ ทำให้ไทยกลายเป็นผู้ส่งออกน้ำตาลทรายอันดับหนึ่งของโลกเมื่อเกือบสองร้อยปีก่อน และยิ่งทำให้ฉะเชิงเทราเป็นชุมทางการค้าที่สำคัญนับตั้งแต่ต้นรัตนโกสินทร์

เมืองจัตวาที่ฝรั่งอยากได้

ฉะเชิงเทรายกฐานะเป็นเมืองจัตวาในสมัยรัชการที่ 1 เมืองจัตวาหมายถึง หัวเมืองชั้นใน สำคัญเป็นรองแค่เมืองหลวง บันทึกของบาทหลวงฝรั่งเศษที่เข้ามาในยุคนั้นบอกว่า “Petriw” (แปดริ้ว) เป็นเมืองที่ชาติตะวันตกสนใจมาก เพราะนอกจากอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพย์สินธรรมชาติแล้ว ยังเป็นชุมทางการสัญจรทางน้ำที่สามารถเชื่อมโยงจากเหนือไปจนออกอ่าวไทยถึงเขมรและเวียดนามได้ ความสนใจมีมากถึงขนาดมีการสำรวจบริเวณลุ่มน้ำบางปะกงอย่างกว้างขวาง (แต่ไม่พบหลักฐานที่บันทึกการสำรวจตามที่บาทหลวงกล่าว) 

พอถึงสมัยรัชกาลที่ 3 อังกฤษและฝรั่งเศส รุกเข้ามาในเอเชียตะวันกออกเฉียงใต้แรงขึ้น เขมร ลาว เวียดนาม ตกอยู่ใต้พลังของมหาอำนาจ รัชกาลที่ 3 จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างป้อมค่ายหลายแห่งในเมืองฉะเชิงเทรา รวมทั้งขุดคลองใหม่เพื่อเพิ่มเส้นทางเชื่อมโยงการขนยุทธสัมภาระและอาหารในกรณีเกิดสงคราม

การขุดคลองต้องใช้แรงงาน ชาวจีนซึ่งเข้ามามากที่สุดในช่วงรัชกาลที่ 3 เป็นแรงงานสำคัญ พื้นที่ใกล้คลองต่าง ๆ ตั้งแต่อำเภอเมืองจนถึงบางปะกง มีชาวจีนที่อยู่มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 2 และที่เข้ามาใหม่พากันทำไร่อ้อยตลอดสองฝั่งลำน้ำ ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการลำเลียงอ้อยไปยังโรงหีบน้ำตาลของชาวจีนซึ่งอยู่ริมน้ำเช่นกัน มีการทำไร่อ้อยเป็นล่ำเป็นสันมาตั้งแต่ร้อยกว่าปีก่อนแล้ว เห็นได้จากภาพปูนปั้นที่วัดสัมปทวนนอก อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา และบันทึก “เล่าเรื่องกรุงสยาม” ของสังฆราชปาลเลอกัวซ์ ที่บอกว่าฉะเชิงเทราทั้งจังหวัดเป็นที่ราบใหญ่ อุดมไปด้วยนาข้าว สวนผลไม้ และไร่อ้อย

งานปูนปั้นบนผนังนอกโบสถ์วัดสัมปทวนนอก จารึกประวัติศาสตร์สมัยที่คนจีนเข้ามาตั้งถิ่นฐานริมแม่น้ำบางปะกง และเริ่มปลูกอ้อยเพื่อส่งโรงงานน้ำตาล
งานปูนปั้นบนผนังนอกโบสถ์วัดสัมปทวนนอก จารึกประวัติศาสตร์สมัยที่คนจีนเข้ามาตั้งถิ่นฐานริมแม่น้ำบางปะกง และเริ่มปลูกอ้อยเพื่อส่งโรงงานน้ำตาล

ยุครุ่งเรือง

การผลิตน้ำตาลทรายเมื่อเกือบสองร้อยปีก่อนนี้ คือโมเดลอุตสาหกรรมพื้นบ้านของไทย ทำแบบไลน์โปรดักส์ คนจีนมีความรู้การทำน้ำตาล แต่สิ่งสำคัญคือต้องมีเตาเคี่ยวน้ำตาลที่ดี ฉะเชิงเทรามีโรงหีบอ้อยน้ำตาลทรายหลายแห่งได้ก็เพราะมีชาวมอญเข้ามาตั้งรกรากในเมืองและปากน้ำบางปะกง นำความรู้เรื่องการทำอิฐมาสร้างเตาเคี่ยวน้ำตาล แม้กระทั่งการสร้างป้อมค่ายกำแพงเมืองฉะเชิงเทราในสมัยรัชกาลที่ 3 ก็ใช้อิฐมอญของกลุ่มชาวมอญเหล่านี้ คนลาวเวียงที่ถูกกวาดต้อนมาหลังปราบเจ้าอนุวงศ์เป็นกลุ่มที่ตัดฟืนส่งโรงงานหีบอ้อย

การผลิตน้ำตาลทรายเป็นอุตสาหกรรมที่เฟื่องฟูมากโดยเริ่มต้นในสมัยรัชกาลที่ 2 รายงานของจอห์น ครอว์เฟิร์ด (ทูตอังกฤษที่เข้าในสมัยรัชกาลที่ 2) ระบุว่า สยามสามารถผลิตน้ำตาลจากอ้อยได้เป็นเวลา 13 ปีมาแล้ว ชาวจีนอพยพโดยเฉพาะจีนแต้จิ๋วเป็นผู้ริเริ่มนำอ้อยมาแปรรูปเป็นน้ำตาลทรายในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2353

หลังจากนั้นไม่นานอุตสาหกรรมน้ำตาลทรายก็เติบโต กลายเป็นสินค้าออกอันดับหนึ่งที่ส่งขายต่างประเทศ ในปี พ.ศ. 2365 ไทยส่งน้ำตาลทรายเป็นสินค้าออกราว 80,000 หาบ อีก 20 กว่าปีถัดมา (พ.ศ. 2392) ส่งออกเพิ่มเป็น 107,000 หาบ ปลายรัชกาลที่ 3 น้ำตาลทรายเป็นสินค้าส่งออกของไทยที่มีมูลค่าสูงสุด ทำรายได้ประมาณ 708,000 บาท (ราคาหาบละ 8.50 บาท)

คนงานกำลังขนอ้อยขึ้นเรือเพื่อขนส่งไปยังโรงงานน้ำตาล
คนงานกำลังขนอ้อยขึ้นเรือเพื่อขนส่งไปยังโรงงานน้ำตาล

ปลายสมัยรัชกาลที่ 3 เช่นกัน มีเอกสารระบุว่าฉะเชิงเทรามีพื้นที่ปลูกอ้อย 10,800 ไร่มากที่สุดในประเทศ (ก่อนหน้านี้คือนครชัยศรี) แหล่งปลูกอ้อยอยู่บริเวณอำเภอบางคล้า จนถึงอำเภอเมือง และอำเภอบ้านโพธิ์ ในรัชกาลนี้ยังโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าเมืองฉะเชิงเทรารับผิดชอบการทำไร่อ้อยในพื้นที่ 223 ไร่ เพื่อส่งโรงน้ำตาลของหลวง ยุคนั้นมีชาวจีนในเมืองฉะเชิงเทราเอาสวนอ้อยมาจำนำเพื่อเข้าหุ้นกันทำโรงหีบน้ำตาลอ้อยกัน

อุตสาหกรรมน้ำตาลทรายบูมสุดขีดในสมัยรัชกาลที่ 3 น้ำตาลทรายจากเมืองไทยเป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศ และเป็นแหล่งรายได้ของรัฐทั้งในรูปภาษีจังกอบและภาษีที่ดิน รัฐจึงมีการส่งเสริมการปลูกอ้อย มีการตั้งโรงหีบอ้อยทั้งของหลวงและของเอกชน เฉพาะเมืองฉะเชิงเทราเป็นพื้นเป้าหมายอันดับหนึ่งที่รัฐให้การสนับสนุน มีการร่างสารตราถึงเจ้าเมืองฉะเชิงเทรา (พระยาวิเสศฤาไชย) ให้ชักชวนชาวจีน ลาว เขมร เข้ามาทำไร่อ้อยและตั้งโรงหีบอ้อยผลิตน้ำตาลทราย ฉะเชิงเทรามีโรงหีบอ้อยมากกว่า 30 โรง ไม่น้อยกว่า 20 โรงเป็นของหลงจู๊ขาวจีน (เรียกว่า หลงจู๊นายโรงหีบ) โรงหีบน้ำตาลล้วนอยู่สองฝั่งแม่น้ำบางปะกง

ช่วงโรยรา

ปลายรัชกาลที่ 4 อาชีพผลิตน้ำตาลทรายในฉะเชิงเทราค่อย ๆ ลดลงเนื่องจากเหตุการณ์ “กบฏตั้วเหี่ย” (อั้งยี่) มีการปล้น และเผาโรงหีบอ้อย จนถึงฆ่าหลงจู๊และคนงาน อุตสาหกรรมน้ำตาลทรายแปดริ้วซบลง บ้างย้ายไปอยู่ที่อื่น จนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อสยามเซ็นสนธิสัญญาเบาว์ริง (พ.ศ. 2398) ส่งผลให้การผูกขาดการค้าโดยรัฐสิ้นสุดลง และต้องเข้าสู่ระบบการค้าแบบแข่งขันเสรีที่มหาอำนาจหรือตลาดโลกเป็นผู้กำหนดราคา อุตสาหกรรมน้ำตาลทรายของไทยที่บริหารด้วยระบบเดิมไม่สามารถแข่งขันกับราคาน้ำตาลในตลาดโลกได้ จึงเหลือแต่การผลิตน้ำตาลเพื่อบริโภคในท้องถิ่น ส่วนใหญ่เป็นน้ำตาลโตนด น้ำตาลมะพร้าว น้ำตาลจากหญ้าคา น้ำตาลทรายแดง ฟิลิปปินส์กับชวากลายเป็นผู้เล่นใหม่ที่ผลิตน้ำตาลทรายขาวคุณภาพสูงออกสู่ตลาด ไทยเองก็นำเข้าน้ำตาลทรายขาวจากสองประเทศนี้

ตลาดน้ำตาลทรายพลิกผันอีกครั้งในปี 2420-2460 ซึ่งเป็นช่วงที่ราคาน้ำตาลในตลาดโลกตกต่ำ เนื่องจากการคิดค้นทำน้ำตาลจากหัวบีต (red beet) ยุโรปสามารถพัฒนาการทำน้ำตาลทรายขาวได้โดยไม่ง้ออ้อย

อุตสาหกรรมน้ำตาลของสยามที่เคยมีฉะเชิงเทราเป็นฐานการผลิตใหญ่ปิดฉากลง หันไปเอาดีทางผลิตข้าวแทน ทุกวันนี้ลุ่มน้ำบางปะกงผลผลิตข้าวได้มากกว่า 9 แสนตันต่อปี เฉพาะฉะเชิงเทราผลิตได้มากกว่า 2 แสนตันต่อปี และเป็นศูนย์กลางค้าขายข้าวที่ใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออก

หลงจู๊ที่เคยเป็นนายโรงหีบ ก็หันมาเป็นหลงจู๊โรงสีข้าวแทน

TAGS #อุตสาหกรรมน้ำตาลทรายไทยในอดีต #เส้นทางสายหวาน #อยู่ดีกินดี #วิถีริมแม่น้ำ #บางปะกง #หาอยู่หากิน #พายเรือทวนน้ำ

อ้างอิงและภาพประกอบ

งานวิจัย ภาพสะท้อนวิถีชีวิตชาวเมืองฉะเชิงเทราในช่วง 150 ปีรัตนโกสินทร์: กรณีศึกษารูปปูนปั้นวัดสัมปทวน, อิงตะวัน แพลูกอินทร์, 2542

Share:

น้ำปลาหวานสูตรอาม่า เครื่องจิ้มรสมือแม่จากชลบุรี ใช้หัวน้ำปลาหมักเอง กุ้งแห้งบางปะกง หวาน
ท่าข้าม จุดหมายเชิงนิเวศปากแม่น้ำบางปะกง ชุมชนอาหารพื้นบ้านที่ไม่ควรพลาด ลิ้มรสปลากดหัวอ่อนหมกกะปิ แกงส้มหน่อไม้ดอง
โลมาอิรวดีเป็นสัตว์ทะเลหายากที่อาศัยในแม่น้ำบางปะกง กำลังเผชิญภัยคุกคามจากการทำประมงและการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม เรียนรู้การอนุรักษ์และบทบาทของโลมาในระบบนิเวศปากแม่น้ำ
ปากแม่น้ำบางปะกง แหล่งน้ำกร่อยที่เป็นถิ่นอาศัยของโลมาอิรวดี โลมาหลังโหนก โลมาหัวบาตรหลังเรียบ และวาฬบรูด้า
คนบางปะกงใช้ความรู้จากความเข้าใจธรรมชาติเพื่อจัดการชีวิตทั้งเรื่องการอยู่การหากิน โดยไม่ขืนครรลองธรรมชาติ ภูมิปัญญานี้เรียกว่า “นาขาวัง”

ส่งข้อความถึงเรา

Tags
Bombaceaceae Durio zibethinus กลุ่มครัสเตเชียน (Crustacea) กะปิสองคลอง กะปิเคย กินตามน้ำ ของดีบางปะกง ขอฝน ต้นจาก ที่นี่บ้านเรา ทุเรียนปราจีนแท้ ธรรมชาติ นายก อบต.คลองตะเกรา นายบุญนาค พรพจน์ธนมาศ น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า บั้งไฟ บั้งไฟฉะเชิงเทรา บั้งไฟท่าตะเกียบ บั้งไฟบ้านหนองคอก บางปะกง ป่าจาก ป่าชายเลน ผลไม้ ผีแถน พายเรือทวนน้ำ มะระขี้นก ยั่งยืน ลาลูแบร์ วงศ์นุ่น-ทุเรียน วิถีริมแม่น้ำ ศักดิ์ปากหมา สยาม หลวงพ่อโสธร หาอยู่หากิน อยุธยา อยู่ดีกินดี อยู่ดีกินดีที่แม่น้ำบางปะกง เคย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แชร์โลมา แม่น้ำ แม่น้ำบางปะกง โลมาหัวบาตร โลมาอิรวดี ใบจาก
โรงเจแห่งแรกในฉะเชิงเทรา สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2440 สมัยรัชกาลที่ 5 ตั้งอยู่ใน ตำบลเทพราช อำเภอบ้านโพธิ์ เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
วัดพิมพาวาสจะมีการประกอบพิธี “ตักบาตรน้ำผึ้ง”ทุกวันเพ็ญเดือนสิบ ประเพณีดั้งเดิมของชาวมอญที่ทั่วประเทศเหลือสืบทอดเพียงไม่กี่แห่ง
ผีแถน เทพเจ้าผู้ควบคุมฟ้าฝนของคนอีสาน มีความสำคัญในพิธีกรรมต่างๆ เช่น บุญบั้งไฟ ซึ่งจัดขึ้นเพื่อขอฝนและความอุดมสมบูรณ์ในฤดูทำนา
งานบุญบั้งไฟฉะเชิงเทรา หรือ บั้งไฟท่าตะเกียบ จัดขึ้นที่ อ.ท่าตะเกียบ จ.ฉะเชิงเทรา เป็นงานประเพณีที่สืบทอดจากชาวอีสาน มีขบวนแห่ การแสดง และการจุดบั้งไฟที่น่าตื่นตาตื่นใจ
ต้นปีจนถึงฤดูร้อน บริเวณปากแม่น้ำบางปะกงเป็นช่วงที่คลื่นลมสงบ นักท่องเที่ยวมักจะมาลงเรือไปดูโลมาอิรวดี ซึ่งบริเวณนี้พบประมาณ 40-50 ตัว ในน่านน้ำแห่งนี้มาตั้งแต่ปี 2545 จนถึงทุกวันนี้
สวนผลไม้ที่ราชทูตฝรั่งเศสมองเห็นจากริมฝั่งแม่น้ำเมื่อกว่า 300 ปีนั้นเป็น “สวนยกร่อง”