ภาพเก่าเล่าเรื่อง: เมืองแมด

ค้นพบเรื่องราว "วัดเมืองแมด" อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา วัดเก่าแก่สมัยต้นรัตนโกสินทร์ แหล่งค้นพบจารึกอักษรลาวโบราณ เชื่อมโยงประวัติศาสตร์ชุมชนลาวพวน
เมืองแมด

อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา มีวัดเก่าแก่ที่สร้างในยุคต้นรัตนโกสินทร์คือ วัดเมืองแมด

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ระบุว่า วัดนี้สร้างในปี 2356 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 2 และเป็นสถานที่ค้นพบจารึกอักษรลาวโบราณ ที่แสดงถึงความเป็นชุมชนลาวพวนในอดีต

ชาวพวนดั้งเดิมเป็นกลุ่มคนที่มาจากที่ราบสูงบริเวณทุ่งไหหิน แขวงเชียงของ แล้วทยอยเคลื่อนย้ายมาตั้งหลักแหล่งใหม่ทางสองฝั่งแม่น้ำโขง รวมทั้งเวียงจันทน์

ในปี 2317 พระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงมีพระบัญชาให้เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก นำทัพไปตีเมืองเวียงจันทน์ ในครั้งนั้นได้กวาดต้อนครอบครัวลาวจากเวียงจันทน์มาอยู่แถวนครนายก ปราจีนบุรี และชาวลาวพวนกลุ่มหนึ่งมาอยู่ที่ตำบลเมืองเก่า เนื่องจากมาจากเวียงจันทน์บางทีจึงเรียกว่าชาวลาวเวียง

ชาวพวนที่ถูกกวาดต้อนมาตั้งชื่อชุมชนที่ตั้งหลักแหล่งใหม่ตามชื่อเมืองเก่าที่เคยอยู่ว่า เมืองแมด ซึ่งอยู่ทางด้านตะวันตกของแขวงเวียงจันทน์ เมื่อชุมชนเติบโตขึ้นก็สร้างวัดตามประเพณีของพุทธมามกะ

วัดเมืองแมด มีชื่อเดิมว่าวัดรังสีเมืองแมด หลักฐานที่จารึกหลังพระสังกัจจายที่ประดิษฐานในอุโบสถหลังเก่า ซึ่งเป็นอักษรธรรมอีสาน (อักษรลาวโบราณ) แปลโดยกรมศิลปากร ใจความว่าวัดสร้างเมื่อวันจันทร์ แรม 2 ค่ำ เดือน 3 ปี 2339 ซึ่งตรงกับรัชกาลที่ 1 ไม่ตรงกับสำนักงานพุทธศาสนาที่บอกว่าสร้างในปี 2356 ห่างกัน 17 ปี

ส่วนชื่อตำบลเมืองเก่า แต่ก่อนไม่ได้ชื่อนี้ ในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงโปรดฯ ให้บริเวณตำบลนี้เป็นเมืองพนมสารคาม โดยมีพระพนมสารนคริน เป็นเจ้าเมืองผู้ปกครอง ต่อมาในปี 2449 ย้ายตัวเมืองพนมสารคามไปอยู่ที่บ้านท่าลาด เพราะอยู่ในบริเวณคลองที่ขุดใหม่ (คลองท่าลาด) บริเวณเดิมจึงเรียกว่า “เมืองเก่า” ในความหมายเดียวกับชื่อวัดเมืองแมด เป็นการเชื่อมโยงความระลึกถึงแผ่นดินเกิดที่พลัดพรากมา

เมืองแมดสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ เมื่อครั้งยังเป็นพระเจ้าน้องเธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ รับราชการในกระทรวงยุติธรรม เสด็จไปตรวจราชการในหัวเมืองภาคตะวันออก เมื่อเดือนเมษายน 2434 ทรงฉายพระรูปร่วมกับพระสงฆ์และกรมการเมืองพนมสารคามที่วัดเมืองแมด ต.เมืองเก่า อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา มีข้อความกำกับภาพว่า “วันที่ ๑๘ เมษายน ร.ศ.๑๑๐ ถ่ายเมื่อไปตรวจราชการพักที่วัดบ้านแมดเมืองพนมสารคาม” (ภาพจากสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ)

บรรยายภาพ

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ เมื่อครั้งยังเป็นพระเจ้าน้องเธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ รับราชการในกระทรวงยุติธรรม เสด็จไปตรวจราชการในหัวเมืองภาคตะวันออก เมื่อเดือนเมษายน 2434 ทรงฉายพระรูปร่วมกับพระสงฆ์และกรมการเมืองพนมสารคามที่วัดเมืองแมด ต.เมืองเก่า อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา มีข้อความกำกับภาพว่า “วันที่ ๑๘ เมษายน ร.ศ.๑๑๐ ถ่ายเมื่อไปตรวจราชการพักที่วัดบ้านแมดเมืองพนมสารคาม” (ภาพจากสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ)

ที่มา สมุดภาพฉะเชิงเทรา

https://chachoengsao.go.th/photobook/?fbclid=IwAR0bvWCeeUXof6FXXK2-ZTUvk-HwFeQeVEy5voBEJLVqOdxJYendeeIp1Bg

TAG : #เมืองแมด #วัดเมืองแมด #ลาวพวน #ลาวเวียง #ภาพเก่าเล่าเรื่อง #อยู่ดีกินดี #วิถีริมแม่น้ำ #หาอยู่หากิน #พายเรือทวนน้ำ #อยู่ดีกินดีที่แม่น้ำบางปะกง #บางปะกง

Share:

ลิ้มลองกะปิเคยบางปะกงเกรดพิเศษ (550ก.) จาก 'กินดีคราฟท์' ทำจากเคยแดงแท้
น้ำปลาหวานสูตรอาม่า เครื่องจิ้มรสมือแม่จากชลบุรี ใช้หัวน้ำปลาหมักเอง กุ้งแห้งบางปะกง หวาน
ท่าข้าม จุดหมายเชิงนิเวศปากแม่น้ำบางปะกง ชุมชนอาหารพื้นบ้านที่ไม่ควรพลาด ลิ้มรสปลากดหัวอ่อนหมกกะปิ แกงส้มหน่อไม้ดอง
โลมาอิรวดีเป็นสัตว์ทะเลหายากที่อาศัยในแม่น้ำบางปะกง กำลังเผชิญภัยคุกคามจากการทำประมงและการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม เรียนรู้การอนุรักษ์และบทบาทของโลมาในระบบนิเวศปากแม่น้ำ
ปากแม่น้ำบางปะกง แหล่งน้ำกร่อยที่เป็นถิ่นอาศัยของโลมาอิรวดี โลมาหลังโหนก โลมาหัวบาตรหลังเรียบ และวาฬบรูด้า

ส่งข้อความถึงเรา

Tags
Durio zibethinus NCDs กะปิสองคลอง กะปิเคย กินตามน้ำ ของดีบางปะกง ขอฝน ตักบาตรน้ำผึ้ง ต้นจาก ที่นี่บ้านเรา ทุเรียนปราจีน ทุเรียนปราจีนแท้ ทุเรียนพันธุ์ไหนอร่อยที่สุด ธรรมชาติ น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า บั้งไฟฉะเชิงเทรา บางปะกง ป่าจาก ป่าชายเลน ผลไม้ ผีแถน พายเรือทวนน้ำ มอญ มะระขี้นก ยั่งยืน ยิ่งยศ ฐาปนกุลศักดิ์ ลาลูแบร์ วิถีริมแม่น้ำ ศักดิ์ปากหมา ศักดิ์ปากหมาทุเรียนปราจีนแท้ สยบเบาหวานด้วยรสขมของมะระขี้นก หลวงพ่อโสธร หาอยู่หากิน อยู่ดีกินดี อยู่ดีกินดีที่แม่น้ำบางปะกง เคย เดชศักดิ์ บุญทาสิน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แชร์โลมา แม่น้ำ แม่น้ำบางปะกง แม่น้ำปราจีนบุรี โลมาหัวบาตร โลมาอิรวดี ใบจาก
โรงเจแห่งแรกในฉะเชิงเทรา สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2440 สมัยรัชกาลที่ 5 ตั้งอยู่ใน ตำบลเทพราช อำเภอบ้านโพธิ์ เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
วัดพิมพาวาสจะมีการประกอบพิธี “ตักบาตรน้ำผึ้ง”ทุกวันเพ็ญเดือนสิบ ประเพณีดั้งเดิมของชาวมอญที่ทั่วประเทศเหลือสืบทอดเพียงไม่กี่แห่ง
ผีแถน เทพเจ้าผู้ควบคุมฟ้าฝนของคนอีสาน มีความสำคัญในพิธีกรรมต่างๆ เช่น บุญบั้งไฟ ซึ่งจัดขึ้นเพื่อขอฝนและความอุดมสมบูรณ์ในฤดูทำนา
งานบุญบั้งไฟฉะเชิงเทรา หรือ บั้งไฟท่าตะเกียบ จัดขึ้นที่ อ.ท่าตะเกียบ จ.ฉะเชิงเทรา เป็นงานประเพณีที่สืบทอดจากชาวอีสาน มีขบวนแห่ การแสดง และการจุดบั้งไฟที่น่าตื่นตาตื่นใจ
อ้อยเป็นพืชเศรษฐกิจลำดับสี่ของโลก รองจากข้าวสาลี ข้าวโพด และข้าว พืชตระกูลหญ้าที่ให้ความหวานนี้เข้ามาในประเทศไทยเมื่อ 400 ปีก่อน สันนิษฐานว่าพ่อค้าชาวอินเดียนำเข้ามา แม้ถิ่นกำเนิดของอ้อยจะอยู่ในหมู่เกาะแถบมหาสมุทรแปซิฟิก แต่เส้นทางการค้าเมื่อกว่าพันปีก่อนก็ทำให้อ้อยขยายไปทั่วเอเชีย
ต้นปีจนถึงฤดูร้อน บริเวณปากแม่น้ำบางปะกงเป็นช่วงที่คลื่นลมสงบ นักท่องเที่ยวมักจะมาลงเรือไปดูโลมาอิรวดี ซึ่งบริเวณนี้พบประมาณ 40-50 ตัว ในน่านน้ำแห่งนี้มาตั้งแต่ปี 2545 จนถึงทุกวันนี้