เรือผีหลอกกับปลากระบอกต้มส้ม

พื้นที่ลุ่มน้ำเป็นแหล่งเริ่มต้นของอารยธรรรม ชุดความรู้ที่พัฒนาเป็นภูมิปัญญาที่มีการสืบทอด มักเกิดจากชุมชนริมแม่น้ำ และการสังเกตธรรมชาติเพื่อดำรงชีวิต บางครั้งก็ทำให้เกิดการค้นพบวิธีหาอยู่หากินแบบที่คิดไม่ถึง อย่างเช่นเรื่อง “เรือผีหลอก”
เรือผีหลอกเป็นภูมิปัญญาพื้นบ้านของคนริมน้ำ เป็นการจับปลาโดยไม่ต้องลงไปในน้ำ หรือใช้เครื่องมือพวกเบ็ด แห อวน อาศัยเข้าใจธรรมชาติก็เหมือนใช้มนต์เรียกปลาให้ขึ้นมาเต็มลำเรือ

เรือผีหลอกเป็นภูมิปัญญาพื้นบ้านของคนริมน้ำ เป็นการจับปลาโดยไม่ต้องลงไปในน้ำ หรือใช้เครื่องมือพวกเบ็ด แห อวน อาศัยเข้าใจธรรมชาติก็เหมือนใช้มนต์เรียกปลาให้ขึ้นมาเต็มลำเรือ

เรือผีหลอกส่วนใหญ่จะเป็นเรือมาด กว้างประมาณ 1 เมตร (หรือแคบกว่านี้ก็มี) ความยาวมีหลายขนาด ตั้งแต่ 7 เมตร จนถึง 15 เมตรก็มี มีทั้งที่แบบเรือขุดและเรือต่อ ท้องเรือค่อนข้างแบน เมื่อลอยอยู่ในน้ำ กราบเรือจะสูงจากระดับน้ำไม่มาก

ด้านข้างเรือจะแขวนแผ่นกระดานทาสีขาวทั้งด้านบนและด้านล่าง อีกด้านปักเสาไม้ไผ่ ขึงตาข่ายไนล่อน หรืออวนกันปลา สูงประมาณสองศอก (1 เมตร) ตลอดลำเรือ ท้ายเรือด้านขวามีหลักแจว และมีเต่าแจว หรือช่องสำหรับเสียบหลักแจวทั้งสองข้างให้เลือกใช้ตามความถนัดและเหมาะสมกับสภาพท้องน้ำ กับมีแจวหนึ่งเล่ม ยาวประมาณสามเมตร

เรือผีหลอกเป็นเครื่องมือที่ประดิษฐ์ขึ้นโดยอาศัยความเข้าใจพฤติกรรมของปลาที่ชอบอาศัยอยู่ตามพงหญ้าริมน้ำ ซึ่งนอกจากจะเป็นที่อาศัยแล้ว บริเวณดังกล่าวยังมีพวกแมลงที่ออกหากินกลางคืนให้ปลาจับกินอีกด้วย

คนหาปลาจะสังเกตและจดจำไว้ว่าบริเวณไหนมีปลาชุกชุม พอตกกลางคืนก็จุดตะเกียงแขวนไว้ที่หัวกับท้ายเรือ พายเรือผีหลอกไปยังพงหญ้าที่หมายตาไว้ เอียงไม้กระดานสีขาวให้แช่น้ำประมาณ 30 องศา เมื่อไม้กระดานเข้าไปใกล้พงหญ้า ปลาที่ชอบนอนในน้ำตื้นได้ยินเสียงแจว และเห็นแสงไฟส่องกระทบแผ่นไม้กระดานสีขาวสว่างโพลงก็ตกใจ กระโดดเข้ามาในเรือ บางตัวที่กระโดดข้ามเรือไปได้ก็จะชนตาข่ายตกลงในเรือเช่นกัน บางครั้งปลาที่ออกหากินกลางคืนก็ตามมากินแมลงที่มาเล่นไฟจากตะเกียงหรือไฟฉายแล้วเผลอกระโดดเข้าเรือด้วยก็มี

ปกติเรือผีหลอกจะใช้หาปลาในเวลากลางคืนในช่วงเดือนมืด แต่ทุกวันนี้มีการใช้หาปลาตอนกลางวันด้วย โดยประยุกต์ใช้ทางมะพร้าวผูกติดกับเรือแล้วลาก-ระไปตามผิวน้ำริมตลิ่งเพื่อให้ปลาตกใจกระโดดหนีไปในทิศทางที่วางตาข่ายดักไว้และตกลงในท้องเรือ บางคนก็ดัดแปลงติดเครื่องเรือเพื่อให้ออกหาปลาได้ไกลขึ้น เมื่อถึงที่หมายก็จะดับเครื่องแล้วแจวเรือไปเงียบๆ

ฟังดูเหมือนไม่ยาก แต่ไม่ใช่คนหาปลาทุกคนจะมีโชคจากเรือผีหลอก เพราะเรื่องนี้ต้องอาศัยสกิลเฉพาะตัว ทั้งการทำงานเงียบๆ ในความมืด ซึ่งบางครั้งอาจเกิดอุบัติเหตุได้เพราะเรือลำอื่นมองไม่เห็นเรา

เรือผีหลอกเป็นเครื่องมือหากินที่คนหาปลาบริเวณปากแม่น้ำนิยมกันมาก โดยเฉพาะช่วงเดือนตุลาคม-กุมภาพันธ์ เพราะเป็นช่วงที่น้ำท่าอุดมสมบูรณ์ ปลาชุกชุมและมีขนาดใหญ่ ปลาที่เข้าเรือผีหลอกส่วนใหญ่เป็นปลาที่หากินน้ำตื้นเช่น ปลาตะเพียนขาว ปลาตะเพียนทอง ปลาซิว ปลาฉลาด ปลาเนื้ออ่อน ปลากระทุงเหว ปลาเสือ ปลากระดี่ ปลากระบอก ปลากะพง เป็นต้น

เวลาที่เหมาะสมในการใช้เรือผีหลอกออกไปจับปลา คือ ตั้งแต่สามทุ่มจนถึงรุ่งสาง คนเฒ่าคนแก่เล่าว่าสมัยก่อนตอนฟ้าสว่างคนที่อยู่บ้านริมแม่น้ำเห็นเรือผีหลอกพายกลับมาพร้อมๆ กันหลายลำ และพบงานเขียนเรื่องเครื่องมือหาปลาชนิดนี้ในบริเวณลุ่มน้ำที่อุดมสมบูรณ์ เช่น แม่น้ำอ้อม แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำลพบุรี แม่น้ำบางปะกง ในยุคที่แม่น้ำยังใสสะอาด คนหาปลาไม่ต้องออกเรือไปหากินไกล ก็อิ่มได้หลายมื้อเพราะหลอกปลาด้วยวิธีนี้ ทั้งยังมีเหลือขายได้อีกด้วย

ช่วงปลายปี 2490 เป็นจุดเริ่มต้นของนโยบายพัฒนาพื้นที่ตอนล่างลุ่มแม่น้ำบางปะกง ได้แก่ โครงการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งทางบกและทะเล การใช้พื้นที่เพื่อรองรับการขยายตัวด้านอุตสาหกรรม ส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทั้งด้านสภาพแวดล้อมและการหาอยู่หากินของคนบางปะกง คนหาปลายิ่งได้รับผลกระทบโดยตรง ทั้งเรื่องที่อยู่อาศัยที่ขยายตัว ทั้งเรื่องโรงงานอุตสาหกรรมที่ปล่อยน้ำเสียลงแหล่งน้ำธรรมชาติ ส่งผลให้สัตว์น้ำลดจำนวน อีกตัวแปรหนึ่งก็คือ วิถีการจับสัตว์น้ำที่เปลี่ยนแปลงนับตั้งแต่เกิดอุตสาหกรรมการประมง และการเพาะเลี้ยงปลาในกระชัง ทำให้คนหาปลาด้วยเรือผีหลอกลดน้อยลง ยังพอมีประปรายแต่ไม่ได้เป็นอาชีพเหมือนแต่ก่อน ร้านอาหารในบางปะกงบางแห่งยังพอได้คุยว่ามีเมนูปลาสดๆ ที่จับได้จากเรือผีหลอก อย่างเช่น เมนูปลากระบอก

ปลากระบอกชอบอยู่ตามชายฝั่งบริเวณป่าชายเลน ปลากระบอกมีเนื้อนุ่ม แน่น ทำอะไรก็อร่อย แต่เมนูที่เป็น signature ของปลากระบอก คือเอาไปต้มส้ม ถ้าเป็นสูตรบางปะกงต้องครบรสทั้งเค็ม หวาน เปรี้ยวน้ำมะขาม และขิงซอย ถ้าเป็นต้มส้มแบบทางใต้ก็ต้องใส่น้ำส้มโหนดกับน้ำตาลแว่น

ชมคลิปคนบางปะกงหาปลากระบอกด้วยเรือผีหลอก https://web.facebook.com/watch/?v=2410453885790376

และสารคดี “ที่นี่บ้านเรา ตอน ผีหลอกที่บางปะกง” ออกอากาศ 1 พฤษภาคม 2562 ทางสถานีไทยพีบีเอส https://www.thaipbs.or.th/program/Banrao/episodes/60333

TAGS #เรือผีหลอก #ต้มส้มปลากระบอก #แม่น้ำบางปะกง #วิถีริมแม่น้ำ #อยู่ดีกินดี #พายเรือทวนน้ำ

ข้อมูลและภาพจาก ฐานข้อมูลเครื่องมือเครื่องใช้พื้นบ้าน (Traditional Objects of Everyday Use) ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) https://www.sac.or.th/databases/traditional-objects/th/equipment-detail.php?ob_id=284

Share:

น้ำปลาหวานสูตรอาม่า เครื่องจิ้มรสมือแม่จากชลบุรี ใช้หัวน้ำปลาหมักเอง กุ้งแห้งบางปะกง หวาน
ท่าข้าม จุดหมายเชิงนิเวศปากแม่น้ำบางปะกง ชุมชนอาหารพื้นบ้านที่ไม่ควรพลาด ลิ้มรสปลากดหัวอ่อนหมกกะปิ แกงส้มหน่อไม้ดอง
โลมาอิรวดีเป็นสัตว์ทะเลหายากที่อาศัยในแม่น้ำบางปะกง กำลังเผชิญภัยคุกคามจากการทำประมงและการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม เรียนรู้การอนุรักษ์และบทบาทของโลมาในระบบนิเวศปากแม่น้ำ
ปากแม่น้ำบางปะกง แหล่งน้ำกร่อยที่เป็นถิ่นอาศัยของโลมาอิรวดี โลมาหลังโหนก โลมาหัวบาตรหลังเรียบ และวาฬบรูด้า
คนบางปะกงใช้ความรู้จากความเข้าใจธรรมชาติเพื่อจัดการชีวิตทั้งเรื่องการอยู่การหากิน โดยไม่ขืนครรลองธรรมชาติ ภูมิปัญญานี้เรียกว่า “นาขาวัง”

ส่งข้อความถึงเรา

Tags
Bombaceaceae Durio zibethinus กลุ่มครัสเตเชียน (Crustacea) กะปิสองคลอง กะปิเคย กินตามน้ำ ของดีบางปะกง ขอฝน ต้นจาก ที่นี่บ้านเรา ทุเรียนปราจีนแท้ ธรรมชาติ นายก อบต.คลองตะเกรา นายบุญนาค พรพจน์ธนมาศ น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า บั้งไฟ บั้งไฟฉะเชิงเทรา บั้งไฟท่าตะเกียบ บั้งไฟบ้านหนองคอก บางปะกง ป่าจาก ป่าชายเลน ผลไม้ ผีแถน พายเรือทวนน้ำ มะระขี้นก ยั่งยืน ลาลูแบร์ วงศ์นุ่น-ทุเรียน วิถีริมแม่น้ำ ศักดิ์ปากหมา สยาม หลวงพ่อโสธร หาอยู่หากิน อยุธยา อยู่ดีกินดี อยู่ดีกินดีที่แม่น้ำบางปะกง เคย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แชร์โลมา แม่น้ำ แม่น้ำบางปะกง โลมาหัวบาตร โลมาอิรวดี ใบจาก
โรงเจแห่งแรกในฉะเชิงเทรา สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2440 สมัยรัชกาลที่ 5 ตั้งอยู่ใน ตำบลเทพราช อำเภอบ้านโพธิ์ เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
วัดพิมพาวาสจะมีการประกอบพิธี “ตักบาตรน้ำผึ้ง”ทุกวันเพ็ญเดือนสิบ ประเพณีดั้งเดิมของชาวมอญที่ทั่วประเทศเหลือสืบทอดเพียงไม่กี่แห่ง
ผีแถน เทพเจ้าผู้ควบคุมฟ้าฝนของคนอีสาน มีความสำคัญในพิธีกรรมต่างๆ เช่น บุญบั้งไฟ ซึ่งจัดขึ้นเพื่อขอฝนและความอุดมสมบูรณ์ในฤดูทำนา
งานบุญบั้งไฟฉะเชิงเทรา หรือ บั้งไฟท่าตะเกียบ จัดขึ้นที่ อ.ท่าตะเกียบ จ.ฉะเชิงเทรา เป็นงานประเพณีที่สืบทอดจากชาวอีสาน มีขบวนแห่ การแสดง และการจุดบั้งไฟที่น่าตื่นตาตื่นใจ
อ้อยเป็นพืชเศรษฐกิจลำดับสี่ของโลก รองจากข้าวสาลี ข้าวโพด และข้าว พืชตระกูลหญ้าที่ให้ความหวานนี้เข้ามาในประเทศไทยเมื่อ 400 ปีก่อน สันนิษฐานว่าพ่อค้าชาวอินเดียนำเข้ามา แม้ถิ่นกำเนิดของอ้อยจะอยู่ในหมู่เกาะแถบมหาสมุทรแปซิฟิก แต่เส้นทางการค้าเมื่อกว่าพันปีก่อนก็ทำให้อ้อยขยายไปทั่วเอเชีย
ต้นปีจนถึงฤดูร้อน บริเวณปากแม่น้ำบางปะกงเป็นช่วงที่คลื่นลมสงบ นักท่องเที่ยวมักจะมาลงเรือไปดูโลมาอิรวดี ซึ่งบริเวณนี้พบประมาณ 40-50 ตัว ในน่านน้ำแห่งนี้มาตั้งแต่ปี 2545 จนถึงทุกวันนี้